Views 1617
2025-06-23 19:00
ในโลกของจุลินทรีย์ในร่างกาย มี “สังคม” ที่ซับซ้อนและทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องสุขภาพของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของจุลินทรีย์ดี(Probiotics) ที่คอยดูแลและสร้างสมดุลให้กับร่างกาย
สังคมของจุลินทรีย์ในร่างกายเราแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยที่สำคัญ ได้แก่
● โพรไบโอติก(Probiotics): จุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้และระบบอื่นๆ
● พรีไบโอติก(Prebiotics): อาหารของโพรไบโอติก
● โพสต์ไบโอติก(Postbiotics): สารสำคัญที่เกิดจากการทำงานของโพรไบโอติก
● พาราไบโอติก(Parabiotics): จุลินทรีย์ดีที่ถูกทำให้ inactive
● ซินไบโอติก(Synbiotics): การผสมผสานระหว่างโพรไบโอติกและพรีไบโอติก
Probiotics คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่เมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน
● แลคโตบาซิลลัส(Lactobacillus) :
พบมาก: ในอาหารหมักดอง, โยเกิร์ต, นมเปรี้ยว
กลไก: เกาะติดเยื่อบุลำไส้, ช่วยย่อยแลคโตส, กระตุ้นการย่อยอาหาร, สร้างเอนไซม์และสารต้านจุลชีพ
ประโยชน์: ป้องกันอาการท้องเสีย, ช่วยย่อยนม, เสริมภูมิคุ้มกัน
● บิฟิโดแบคทีเรียม(Bifidobacterium) :
พบมาก: ในนมและผลิตภัณฑ์นมหมัก
กลไก: สร้างกรดไขมันสายสั้น, กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน, ป้องกันเชื้อก่อโรค
ประโยชน์: บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน(IBS), เสริมภูมิต้านทาน
● แซคคาโรไมซิส(Saccharomyces) :
กลไก: เป็นยีสต์ที่ช่วยยับยั้งเชื้อก่อโรค, กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ประโยชน์: บรรเทาอาการท้องเสีย, ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
● Streptococcus thermophilus :
กลไก: ทนความร้อนสูง, ช่วยย่อยแลคโตส, สร้างสารต้านจุลชีพ
ประโยชน์: ใช้ในผลิตภัณฑ์นมหมัก, ช่วยย่อยอาหาร
- สร้างเกราะป้องกันเยื่อบุลำไส้
- ยับยั้งเชื้อก่อโรค
- กระตุ้นการย่อยอาหารและสร้างเอนไซม์
- รักษาสมดุลจุลินทรีย์
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- สังเคราะห์วิตามิน K เเละวิตามิน B
- ระบบทางเดินอาหาร: รักษาและป้องกันอาการท้องเสีย, ลำไส้แปรปรวน, ลำไส้อักเสบ, ท้องผูก
- ระบบภูมิคุ้มกัน: ลดอาการภูมิแพ้, เสริมภูมิต้านทาน
- ระบบอื่นๆ: ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ส่งผลดีต่อระบบประสาท, ตับ, และควบคุมน้ำหนัก
Prebiotics คือ ใยอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ แต่เป็นอาหารของโพรไบโอติกในร่างกาย
ตัวอย่าง: อินูลิน (Inulin), ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (FOS), กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS), PHGG, Psyllium Husk
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก
- เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีในลำไส้
- ช่วยระบบขับถ่าย, ควบคุมน้ำหนัก, ลดคอเลสเตอรอล, ควบคุมน้ำตาลในเลือด
- ดักจับไขมัน, ลดคอเลสเตอรอล
- ชะลอการดูดซึมน้ำตาล
- ควบคุมน้ำหนัก
- เป็นอาหารของโพรไบโอติก
- ลดการสัมผัสสารก่อมะเร็งในลำไส้
Postbiotics คือ สารที่เกิดจากการทำงานของโพรไบโอติก เช่น เอนไซม์, แบคทีริโอซิน, กรดไขมันสายสั้น, วิตามิน, กรดอะมิโน, สารสื่อประสาท
- กระตุ้นเซลล์เยื่อบุลำไส้
- เสริมภูมิคุ้มกัน
- ยับยั้งเชื้อก่อโรค
- ลดการอักเสบ
- ช่วยดูดซึมอาหาร, ควบคุมน้ำหนัก, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- เป็นกรดไขมันสายสั้น (Short-Chain Fatty Acids): Acetate, Propionate, Butyrate
- เป็นพลังงานให้เซลล์ลำไส้
- ส่งผลต่อสมองและอารมณ์ (Gut-Brain Axis)
- เสริมสร้างความแข็งแรงของเยื่อบุลำไส้
Parabiotics คือ จุลินทรีย์ดีที่ถูกทำให้ไม่สามารถทำงานได้(inactive) แต่ยังมีโครงสร้างที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
- โครงสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ (เช่น teichoic acids, peptidoglycan) ยังคงออกฤทธิ์
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านกลไก MAMP-PRR
- ลดการเกิด biofilm, เสริมสร้างเยื่อบุลำไส้, ลดภาวะลำไส้รั่ว
- ข้อดีสำหรับผู้ประกอบการ:
- เสถียรภาพสูง เก็บและขนส่งง่าย
- ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงจากจุลินทรีย์มีชีวิต
- เหมาะสำหรับการผลิตอาหารเสริมในปริมาณมาก
พาราไบโอติก(Parabiotics) มีความพร้อมใช้งานต่อกระบวนการผลิตอาหารเสริม ยิ่งเป็นการขยายขนาดอุตสาหกรรม เพราะจะมีความง่ายในการผลิต การจัดเก็บ และการขนส่ง ได้ดีกว่าโพรไบโอติก
Synbiotics คือ การรวมโพรไบโอติกและพรีไบโอติกเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
- เพิ่มจำนวนโพรไบโอติกในลำไส้
- เสริมระบบขับถ่าย, ภูมิคุ้มกัน, การดูดซึมสารอาหาร
- ลดโอกาสการติดเชื้อจากเชื้อก่อโรค
● ในผู้ป่วยเบาหวาน: การได้รับซินไบโอติก (Lactobacillus, Bifidobacterium, Streptococcus thermophilus + FOS) เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (อ้างอิง)
● ในผู้ป่วยไขมันพอกตับ (NAFLD): การได้รับซินไบโอติกเป็นเวลา 28 สัปดาห์ พบว่าปริมาณไขมันในตับลดลง (อ้างอิง)
สำหรับการใส่ซินไบโอติกลงไปในอาหารเสริม กูรูเช็คมองว่าดีกว่า สูตรอาหารเสริมที่ใส่โพรไบโอติกมาเดี่ยวๆ เพราะมีอาหารโพรไบโอติก มาช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ดีในลำใส้
การเข้าใจกลไกการทำงานของโพรไบโอติกและหน่วยย่อยในสังคมจุลินทรีย์ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกสายพันธุ์โพรไบโอติกที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- เพิ่มพรีไบโอติกเพื่อเสริมฤทธิ์
- พิจารณาใช้โพสต์ไบโอติกหรือพาราไบโอติกเพื่อเพิ่มจุดเด่นให้อาหารเสริมของคุณ
- เน้นงานวิจัยสนับสนุนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ฟรี!! ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy
(สำหรับติดต่อโฆษณา)
“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “