Views 3012
2024-06-21 18:00
(กูรูเช็ค)โพรไบโอติก Bifidobacterium ตัวช่วยลดไขมันพอกตับ
ดูเพิ่มเติม
คุณๆ รู้มั๊ยว่าโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) มักพบร่วมกับโรคอ้วนและภาวะ metabolic syndrome ของจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่อการเกิด NAFLD และภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis, NASH) โดยพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุลไปทำให้เกิดการรั่วของผนังลำไส้ (gut leakiness) ส่งผลให้แบคทีเรียในลำไส้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสโลหิตและเกิดภาวะ metabolic endotoxemia ตามมาด้วยการอักเสบที่ตับในที่สุด การใช้โพรไบโอติก เพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา NAFLD และ NASH ให้ดีขึ้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติม (กูรูเช็ค) โพรไบโอติก สามารถลดการอักเสบ และลดการเกิดภาวะไขมันที่ตับได้!
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และบริษัท TCI Co. Ltd ซึ่งกล่าวถึงการพัฒนาด้านโภชนาการในปัจจุบัน ได้กล่าวในหัวข้อพัฒนาการด้านโภชนาการในปัจจุบัน ว่าการเสริม Bacillus coagulans ช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ได้
จากการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 57 รายมีส่วนร่วมในการทดลองแบบสุ่ม ได้รับทั้งโพรไบโอติกและได้รับยาหลอกในช่วง 8 สัปดาห์นี้ โดยถูกสุ่มให้รับประทาน 1 แคปซูลที่มี Bacillus coagulans TCI711 (B. coagulans TC1711) 1.66 พันล้าน CFU และยาหลอกทุกวัน จากนั้นตรวจสอบปริมาณไขมันในตับโดยใช้เครื่องสแกนพังผืดในตับด้วย FibroScan และตัวอย่างอุจจาระที่รวบรวมเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในไมโครไบโอมในลำไส้
ผลการวิจัยพบว่าการเสริม B. coagulans TCI711 ช่วยลดปริมาณไขมันในตับลง ร้อยละ 5.2 ซึ่งต่ำกว่าระดับพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงมีมากในผู้เข้าร่วมที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 และหลังจากแยกผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคอ้วนขั้นรุนแรง ผู้เข้าร่วมที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 รายงานว่าไขมันในตับลดลงร้อยละ 8.7 เป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากระดับพื้นฐาน และยังมีการเปลี่ยนแปลงได้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก
จากการศึกษาการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าการเสริม โพรไบโอติก สายพันธุ์ B. coagulans TCI711 ช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึง Bifidobacterium, Eubacterium, Ruminococcaceae, และ Sellimonas. จากระดับพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บิฟิโดแบคทีเรียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากน้อยกว่า 0.002 เปอร์เซ็นต์ เป็น 0.003 เปอร์เซ็นต์เมื่อสิ้นสุดทดสอบ
และนักวิจัยอธิบายอีกว่าการผลิตกรดไขมันสายสั้น ได้แก่ กรดโพรพิโอนิก (propionic acid) และกรดบิวริก (butyric acid) สามารถยับยั้งการอักเสบของตับและการสะสมไขมัน และบรรเทา NAFLD ได้ ทั้งจุลินทรีย์ "Ruminococcaceae และ Sellimonas ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้ได้ ว่าการเสริม BCT (B. coagulans TCI711) ช่วยปรับการกระจายตัวของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ และเป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ สุดท้ายการศึกษานี้ นักวิจัยเสริมว่าจุลินทรีย์ดีในลำไส้อาจเป็นแนวทางใหม่ในการรักษา NAFLD ได้จริง
NAFLD คือ ภาวะที่มีไขมันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ สะสมภายในเซลล์ตับมากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ โดยที่ไม่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากพอ หรือสาเหตุอื่นใดที่ทำให้เกิดโรคตับ NAFLD ประกอบด้วยความผิดปกติที่ตับโดยเริ่มจากการมีแค่ไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ (simple steatosis) โดยที่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบที่ตับไปจนถึงการมีไขมันสะสมที่ตับร่วมกับการ อักเสบในตับแบบ ballooning degeneration พร้อมกับการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในตับ (fibrosis) โดยเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steatohepatitis (NASH) ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงของโรคมากกว่า
ตับและทางเดินอาหารเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเลือดที่มาเลี้ยงตับส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) มาจาก portal vein ซึ่งนําเลือดที่มีสารอาหารที่ย่อยแล้วจากลําไส้ รวมถึงผลิตผลที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์ในลําไส้ เช่น เอทานอล แอมโมเนียและอะเซตัลดีไฮด์ไปยังตับด้วย มีการสันนิษฐานว่าจุลินทรีย์ในลําไส้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไขมันสะสมในตับ (NAFLD) และตับอักเสบ (NASH) โดยกลไกที่จุลินทรีย์ในลําไส้ทำให้เกิดการอักเสบที่ตับ เชื่อว่ามีหลายกลไกด้วยกัน ได้แก่ การมีแบคทีเรียเจริญมากผิด ปกติในลําไส้เล็ก (small intestinal bacterial overgrowth, SIBO) การปลดปล่อย lipopolysaccharide (LPS) จากผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ และการที่เยื่อบุผิวลําไส้ทำหน้าที่กีดขวางได้ไม่สมบูรณ์ (impaired intestinal barrier integrity) ทำให้ endotoxin ของเชื้อแบคทีเรียถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น และไปยังตับมากขึ้น ส่งผลกระตุ้นการสร้าง Proinflammatory cytokines ที่ตับและทำให้เกิดการอักเสบตามมา
แบคทีเรีย Bifidobacterium มีบทบาทสำคัญในการลดระดับ endotoxin ในลําไส้ และช่วยส่งเสริมความแข็งแรงและการทำหน้าที่กีดขวางของเยื่อบุผิวในลําไส้ ดังนั้น การลดลงของ Bifidobacterium เนื่องจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง จึงทำให้เยื่อบุผิวในลําไส้สูญเสียการทำหน้าที่กีดขวาง ส่งผลให้เพิ่มการดูดซึมจากลําไส้ผ่านทางการเกิด Chylomicrons แล้วเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำใหเกิดไขมันพอกตับตามมา ดังนั้น การใช้ Probiotics เพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้ ก็เป็นทางเลือกนึงในการรักษา (NAFLD) และ (NASH) ให้ดีขึ้นได้นะ โดยอาหารเสริมโพรไบโอติกในปัจจุบันมีให้เลือกเยอะไปหมด คุณๆ ควรเลือกประเภทและสายพันธุ์ ให้เหมาะกับจุดประสงค์นะ
ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ
(สำหรับติดต่อโฆษณา)
“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “