เขียนโดย : Gurucheck

Views 1852

2024-05-03 10:00

(กูรูเช็ค) อัปเดตงานวิจัย Ahiflower oil ทางเลือกทดแทน Fish oil อย่างยั่งยืน

กูรูเช็ค

Ahiflower oil เป็นทางเลือกทดแทนน้ำมันปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้าอย่างยั่งยืน และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศตุรกีเพื่อนำมาทำ อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรืออาหารทางเลือกอื่นๆ เนื่องจากการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ได้ตรวจสอบกลไกการออกฤทธิ์เพื่อเพิ่มระดับ EPA กูรูเช็คจึงมาอัปเดตงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกเฉพาะของการออกฤทธิ์ Ahiflower oil เพื่ออนาคตหากมีการนำมาใช้ประเทศไทยเราค่ะ

ที่มาและความสำคัญของ Ahiflower oil

กระทรวงเกษตรของตุรเพิ่งมีการประกาศเพิ่มส่วนผสมที่ผลิตโดยซัพพลายเออร์ระดับโลกอย่าง Natures Crops International (NCI) ลงในรายชื่อ Ahiflower เป็นพืชเชิงบวกของรัฐบาลกลาง เพื่อเปิดทางสำหรับการนำ Ahiflower oil ไปใช้ในอาหารเสริมและอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศ

Andrew Hebard ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ NCI กล่าวว่า “การที่สามารถนำพืชทางเลือกทดแทนน้ำมันปลาที่มีการวิจัยเชิงลึกและอ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์มาสู่ตลาดที่สำคัญนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เราเชื่อว่า Ahiflower oil สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนและลดราคาต้นทุนลงได้”

ขณะเดียวกันการทดลองแบบ randomized crossover trial ที่ตีพิมพ์ใน Frontiers in Nutrition​ ได้ศึกษาผลกระทบของ Ahiflower oil ต่อการไหลเวียนของระดับโอเมก้า 3 ในร่างกาย โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของ omega-3 oxylipin ในมนุษย์และในเซลล์ตับที่เพาะเลี้ยง เพื่อค้นหากลไกการออกฤทธิ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Ahiflower oil

สารสำคัญใน Ahiflower oil

มีรายงานว่าน้ำมันจาก Ahiflower ที่ได้จากเมล็ด Buglossoides arvensis มี α-linolenic acid (ALA) และ stearidonic acid (SDA) สูง ซึ่งทั้งคู่เป็นกรดไขมันที่เป็นสารตั้งต้นที่มีศักยภาพสำหรับการสังเคราะห์ eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) ที่เป็นองค์ประกอบของโอเมก้า 3 นอกจากนี้น้ำมันจาก Ahiflower ยังมี GLA (กรดแกมมาไลโนเลนิก) กรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 6 และกรดโอเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 9 เพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยรวม

เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าการอัตราการเปลี่ยนแปลง ALA ไปเป็น EPA นั้นต่ำ ซึ่งพืชที่เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่โดดเด่น เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เจีย และป่าน โดยส่วนใหญ่ก็มีการวิจัยเรื่องคุณประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่แล้วสำหรับน้ำมันในกลุ่มนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กำหนดอัตราการเปลี่ยนแปลงนี้ไว้ที่ 3-20% สำหรับผู้เป็นมังสวิรัติสัดส่วนของ ALA ที่แปลงไปเป็น DHA ก็จะมีน้อย แต่ในทางกลับกัน stearidonic acid หรือ SDA จะแปลงไปเป็น EPA ในอัตราส่วน 30-35% และการบริโภค SDA โดยตรงนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการบริโภค ALA จำนวนมาก

งานวิจัย Ahiflower oil

งานวิจัยนำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kiel ประเทศเยอรมนี การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้คัดเลือกอาสาสมัครชายที่มีสุขภาพดีจำนวน 29 คนแบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อได้รับ: Ahiflower oil (9 g/วัน), taurine (1.5 g/วัน) และ: Ahiflower oil (9 g/วัน) +  taurine (1.5 กรัม/วัน) เป็นเวลา 20 วัน

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบในเซลล์ตับ HepG2 ที่เพาะเลี้ยงและได้รับกรดไขมันที่แยกได้ ALA, SDA, EPA, DHA รวมถึง taurine เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับ SDA

ผลการประเมินตัวบ่งชี้ทางชีวภาพทางคลินิกและองค์ประกอบของกรดไขมันในผู้เข้าร่วมแนะนำว่าการบริโภค Ahiflower oil ระดับของ EPA เพิ่มขึ้นสามเท่า ในขณะที่ระดับ DHA ไม่ได้รับผลกระทบจากการรักษา

การศึกษาในหลอดทดลองพบว่าระดับ EPA ในเซลล์ HepG2 ที่ได้รับ SDA นั้นสูงกว่าระดับในเซลล์ที่ได้รับ ALA ถึง 65% นอกจากนี้ taurine ไม่ส่งผลต่อโปรไฟล์ของกรดไขมันในพลาสมาของมนุษย์ทั้งในการทดสอบทางคลินิกและการทดสอบในหลอดทดลอง Ahiflower oil ที่อุดมด้วย SDA และ SDA ที่บริสุทธิ์ที่แยกได้ทำให้ omega-3 oxylipin เพิ่มขึ้นในมนุษย์และในเซลล์ HepG2 ตามลำดับ

นอกจากนี้การบริโภค Ahiflower oil ยังช่วยเพิ่ม omega-3 oxylipin อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ลด ARA oxylipin บางส่วนได้เล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มที่จะลดระดับของ ARA (arachidonic acid) ลงเล็กน้อย จึงอาจช่วยลดการเกิดการอักเสบได้

หลักฐานงานวิจัยใหม่นี้สอดคล้องกับความสามารถที่ได้รับการยอมรับของ Ahiflower oil ในการสร้างฟีโนไทป์ต้านการอักเสบโดยรวมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมนุษย์ผ่านการควบคุม IL-10 และโดยการจัดหาสารตั้งต้นของ oxylipin เพื่อต้านการอักเสบที่หลากหลายมากขึ้น

“Ahiflower oil ที่ได้จากพืชช่วยเพิ่ม EPA ในพลาสมาและ eicosanoids ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในรูปแบบ oxylipin ทั้งหมด การศึกษาในปัจจุบันแสดงหลักฐานที่สำคัญว่า SDA เป็นตัวปรับระดับ oxylipin ของ EPA และ DHA ที่ทรงพลังมากกว่า ALA”

สรุป

Ahiflower oil ที่อุดมด้วย ALA และ SDA สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งทางเลือกจากพืชเพื่อเพิ่มระดับ EPA ในคนที่มีน้ำหนักปกติ หรือในคนที่มีสุขภาพดี ในขณะที่ไม่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับ DHA ดังนั้น Ahiflower oil เป็นแหล่งทางเลือกสำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติหรือคนที่ต้องการได้รับ EPA แต่ไม่ต้องการจากแหล่ง fish oil ทางตุรกีจึงประกาศให้ Ahiflower oil เป็นพืชทางเลือกทดแทนน้ำมันปลาและสามารถนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอาหารทางเลือกอื่นๆ ได้

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : Gurucheck

Views

1852

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “