เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2371

2024-07-23 17:00

(กูรูเช็ค) เช็คลิสต์ 5 ข้อ อาหารเสริม PROBIOTICS ที่ไม่ควรซื้อกิน!

ใครที่กำลังมองหาอาหารเสริมอย่าง “PROBIOTIC” ทานเอง ก่อนซื้อกูรูเช็คอยากให้คุณๆเช็คก่อนว่า สูตรของโพรไบโอติกที่คุณๆจะซื้อ กินเข้าไปแล้วเราจะเห็นผลจริงไหม ถ้าพร้อมแล้วไปเช็คกันเลยค่ะ

1. ทานโพรไบโอติกในรูปแบบแปลกๆ

ยกตัวอย่างเช่น กาแฟโพรไบโอติก ไม่ควรซื้อมาเพราะกาแฟต้องมีการชงในน้ำร้อน ซึ่งการใช้น้ำร้อนจะทำให้โพรไบโอติกตุยได้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีมาช่วยเคลือบล็อคก็ตาม เพราะต้องอย่าลืมว่าโพรไบโอติกไม่สามารถทนความร้อนได้มากขนาดนั้นนะ แถมยังตุยง่ายอีกต่างหาก เรียกว่าซื้อมาก็เปลืองเงินเพราะโพรไบโอติกแทบไม่เหลือแล้ว

หรือในรูปแบบเจลลี่ที่มีให้เห็นบ่อยๆ อันนี้ก็ไม่ควร เพราะการขึ้นเป็นฟอร์มเจลลี่ได้มันต้องมีการเอาไปต้มด้วยเจลาตินก่อน รวมไปถึงแบบเม็ดฟู่ก็เช่นกัน การจะทำให้เป็นเม็ดได้มันต้องมีการตอกเม็ดแล้วอบด้วยความร้อนก่อนถึงจะมาเป็นรูปแบบเม็ดฟู่นะคะ

โพรไบโอติกที่ดีก็ควรจะอยู่ในรูปแบบที่ทานง่าย อย่างเช่น ผงกรอกปากหรือแคปซูล เพื่อไม่ให้รบกวนจุลินทรีย์มากเกินไปนะ

2. โพรไบโอติกที่มีปริมาณน้อย ทั้งสายพันธุ์และจำนวนเชื้อ

การที่ในสูตรนั้นๆใส่โพรไบโอติกมาในปริมาณที่น้อย สุดท้ายนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์จากโพรไบโอติกแล้วยังอาจจะได้ของแถมเป็นค่าน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นแทน เนื่องจากบางเจ้าอาจจะใส่สารให้ความหวานมา เพื่อแต่งรสชาติให้กินง่ายขึ้น แล้วทำให้เหลือเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่น้อยมาก แบบนี้เราก็เลยจะได้ของแถมเป็นค่าน้ำตาลที่สูงขึ้นแทนแล้วไม่ได้โพรไบโอติกเลย ซึ่งอันนี้เราสามารถดูที่ฉลากได้เลยนะ เขาต้องใส่ปริมาณมาให้เราดูอยู่แล้ว ถ้าจะให้ดีต้องมีเชื้อจุลินทรีย์อย่างน้อย 1 หมื่นล้าน CFUs/Serve นะคะ

3. สูตรโพรไบโอติกที่กินแล้วออกเลย

เป็นการเคลมเรื่องการกินโพรไบโอติกเข้าไปแล้วอีกวันนึงเข้าห้องน้ำเลย สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดๆคือโพรไบโอติกช่วยให้อึ ถามว่าจริงไหม? ขอตอบว่ามีส่วนช่วยแล้วกัน เพราะจริงๆแล้วโพรไบโอติกมีส่วนช่วยส่งเสริมเรื่องการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและระบบการทำงาน(AXIS) ส่วนอื่นๆของร่างกาย พอลำไส้เราทำงานได้ปกติ ก็จะทำให้เรารู้สึกว่าขับถ่ายได้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่ว่ากินปุ๊ปออกปั๊ป แบบนี้คือไม่ใช่ละ ผิดปกติมาก เพราะโพรไบโอติกจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์ทันทีขนาดนั้น เขาจะใช้เวลาค่อนข้างนานเพื่อปรับสมดุลนะ เพราะฉะนั้นจำไว้เลยว่าโพรไบโอติกไม่ใช่ยาถ่ายนะคุณๆ

4. มีแหล่งที่มาของโพรไบโอติกไม่ชัดเจน

โพรไบโอติกที่ดีต้องสามารถตรวจดูแหล่งที่มาหรือ PATENT ของเชื้อจุลินทรีย์ได้ ซึ่งการดู PATENT สามารถดูปริมาณจุลินทรีย์จากฉลากข้างกล่องได้เลยนะ

5. ไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมช่วยเคลือบป้องกันโพรไบโอติกเสื่อม

การที่โพรไบโอติกสูตรนั้นๆไม่มีเทคโนโลยีช่วยลดการเสื่อมสลายของโพรไบติก อาจทำให้เวลากินเข้าไปก็แทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยเนื่องจากตุยระหว่างทางไปแล้ว เจอกรดในกระเพาะบ้าง โดนความร้อนบ้าง กินไปก็แทบจะไม่เหลือแล้วเนอะ ถ้าจะให้ดีก็ต้องมีสายพันธุ์ที่สามารถทนความร้อนได้ดี ตัวที่แนะนำก็คือ BACILLUS COAGULANS (อ้างอิง) หรือถ้าโพรไบโอติกสามารถทนกรดได้ดีด้วยก็จะดีมาก เพราะป้องกันการตุยระหว่างทางเวลากินเข้าไปเนอะ ซึ่งเชื่อโพรไบโอติกที่รู้สึกว่ามีความอดทนสูงก็คือ B.LACTIS ค่ะ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

กูรูเช็คขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6025323/
เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2371

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “