เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1965

2024-10-15 18:00

(กูรูเช็ค)ฉลากอาหารเสริม ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ ผู้ประกอบการควรรู้

สำหรับใครที่กำลังมีแผนจะทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แต่ยังไม่มีไอเดียสำหรับใช้สั่งผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์สินค้า บทความนี้กูรูเช็คมีทริค และข้อควรรู้ที่จะมาช่วยให้คุณมีไอเดียการออกแบบแพคเกจจิ้งอาหารเสริมอย่างถูกต้อง แต่ก่อนจะเริ่มไปที่ฉลาก เราดูขั้นตอนการจะทำกล่องแพกเกจจิ้งกันก่อน โดยกล่องอาหารเสริมจะมีข้อจำกัดที่ผู้ประกอบการควรต้องระวังในการออกแบบเลย ไม่ว่าจะเป็นการใส่รายละเอียด การออกแบบให้น่าสนใจ แสดงถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ ทั้งเรื่องของสี กราฟฟิก รวมถึงโลโก้ของแบรนด์ กูรูเช็คขอแนะนำสำหรับกล่องบรรจุอาหารเสริมว่า

- ควรมีข้อความโฆษณาสั้นๆ ที่แสดงถึงสรรพคุณ
- ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์โดยใช้สีที่สื่อความหมาย หรือเข้ากับสรรพคุณ
- ลายกราฟิก หรือภาพประกอบที่สื่อถึงสรรพคุณหรือส่วนผสม
- เคลือบกล่องเพื่อเพิ่มความพรีเมี่ยม และป้องกันความชื้น
- มีฉลาก หรือข้อมูลบนแพคเกจจิ้งที่ครบถ้วน

• ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

“ฉลากอาหาร” ถือเป็นหัวใจสำคัญของสินค้าเพื่อการบริโภค เพราะคือสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกถึงรายละเอียดและส่วนประกอบสำคัญในตัวสินค้า ที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยข้อมูลการทำฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ว่าบนฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะต้องระบุข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำไปใช้ในการทำฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เราลองมาดูดีกว่าว่า ฉลากอาหารเสริม สำคัญอย่างไร และควรมีข้อมูลอะไรอยู่บนฉลากบ้าง ตามมาดูไปพร้อมๆกันค่ะ

เช็คลิสต์ 11 ข้อมูลที่ควรอยู่บนฉลากสินค้าที่ทางแบรนด์ต้อง QC ให้ละเอียด
สำหรับข้อมูลสำคัญที่บนฉลากสินค้าต้องมีนั้น ประกอบด้วย 11 ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย…

1. ชื่ออาหาร โดยมีคำว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหาร หรือกำกับชื่ออาหาร
2. จำนวนแคปซูล และ น้ำหนักสุทธิ
3. ชื่อ และ ปริมาณของส่วนประกอบอาหาร โดยแสดงปริมาณจากมากไปน้อย
4. วิธีรับประทาน
5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี
6. ข้อความ คำแนะนำ“ควรรับประทานอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
7. ข้อความ “ไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรค”
8. คำแนะนำในการใช้ และการเก็บรักษา (ถ้ามี)
9. เลขสารบบอาหาร เลข อย.
10. เดือนปีที่ผลิต และ หมดอายุ โดยมีข้อความ “ผลิต” และ “หมดอายุ”กำกับด้วย
11. คำเตือน ***การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสำคัญบางชนิดเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำมันปลา คำเตือน ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ปลาทะเล หรือน้ำมันปลา,ควรระวังในผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าฉลากอาหารแสริมมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย และให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของผู้บริโภค แต่ก็ต้องมีมาตรฐานในการผลิตบนฉลาก เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของเราด้วย

• อาหารเสริมที่ดีควรผ่านมาตรฐานอะไร ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
การสร้างแบรนด์อาหารเสริมในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ การสร้างแบรนด์อาหารเสริมให้มีตัวตนที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจกับผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายเอง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงตรงนี้คุณๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแบรนด์อาหารเสริมของตนเองนั้นมีตัวตนที่ได้มาตรฐานหรือยัง ต้องดูอย่างไร จึงจะแน่ใจว่าแบรนด์อาหารเสริมของตนเองนั้นได้มาตรฐานแล้ว โดยต้องมีมาตรฐาน ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของคุณได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน โดยมาตรฐานที่โรงงานรับผลิตอาหารเสริมในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น
- เครื่องหมายรับรองสินค้า GMP (Good Manufacturing Practice)
- เครื่องหมายมาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point)
- เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
- เครื่องหมายมาตรฐาน ISO (International Standards Organization)
3. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของคุณเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
4. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของคุณมีการพัฒนาใหม่ๆอยู่เสมอ

• อาหารเสริมที่ดีควรผ่านมาตรฐานอะไร ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า คือ เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าชนิดนั้นได้รับการผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้จะได้รับก็ต่อเมื่อโรงงานผู้ผลิตได้ดำเนินกิจการตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบการผลิตสินค้าออกมาในระดับที่มีคุณภาพ

ปัจจุบันเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะกำหนดในเรื่องของการควบคุมมาตรฐานที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางอย่างอาจจะเป็นเครื่องหมายทั่วไปหรือเครื่องหมายมาตรฐานที่บังคับว่าทุกโรงงานต้องมี นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายอื่นๆ ที่เจ้าของแบรนด์ต้องศึกษาข้อมูลไว้ว่าสินค้าของคุณนั้นจัดอยู่ในประเภทใดและต้องมีเครื่องหมายรับรองอะไรบ้าง ดังนั้นมาดูกันว่าเครื่องหมายสินค้ามีอะไรบ้าง

1. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : หรือ ‘มอก.’ คือข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (สมอ.) ระบุขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตดำเนินขั้นตอนการผลิตสินค้าให้ออกมามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
2. เครื่องหมายอาหารและยา หรือ อย.: เครื่องหมายที่ออกโดยสำนักคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. เครื่องหมายฮาลาล:การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจึงสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรืออาหารต่างๆ ที่มีเครื่องหมายฮาลาลได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ เป็นไปตามศาสนบัญญัติ

4. เครื่องหมาย GMP : มาตรฐานที่ทั่วโลกให้การยอมรับและเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับวิธีการผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ
5. เครื่องหมาย ISO : การที่ผู้ผลิตแต่ละรายได้รับการรับรองคุณภาพจาก ISO จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ได้รับมีการตรวจสอบด้านคุณภาพและความปลอดภัยจากองค์กรที่ได้มาตรฐานระดับโลกแล้ว
6. เครื่องหมาย HACCP : การควบคุมมาตรฐานในด้านความปลอดภัยของกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอาหารและยา โดยหลักการของมาตรฐานนี้จะเน้นไปที่การป้องกันและวิเคราะห์อันตรายที่อาจมีการปนเปื้อนในอาหารตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการเก็บรักษา

7. เครื่องหมายโอทอป (OTOP) : ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายโอทอปจะต้องผ่านตามหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนดไว้ เช่น ต้องได้รับมาตรฐาน อย., GMP, HACCP, ฮาลาล. มอก.
8. สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ : สัญลักษ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์หรือที่เห็นเป็นคำว่า ‘Organic Thailand’ คือเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าการผลิตของสินค้าประเภทนั้นเน้นการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ
9. เครื่องหมายมาตรฐาน Q : เครื่องหมาย ‘Q’ มาจากคำว่า ‘Quality’ คือ เครื่องหมายที่รับรองมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านเกษตรกรรมและอาหารที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ หรือขั้นตอนการผลิตว่าสินค้าได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด

• ประโยชน์ของเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า 
สำหรับผู้ผลิต
- เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อให้สินค้าออกมามีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
- สามารถช่วยลดรายจ่ายและช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพดีและมีราคาที่ถูกลง
- ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำหนดว่าสินค้านั้น ๆ ต้องได้รับเครื่องหมายอะไรบ้าง 

สำหรับผู้บริโภค
- ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
- ผู้ใช้งานจะได้รับความปลอดภัยสำหรับสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรอง
- ในกรณีที่สินค้าชำรุดสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนเองได้ง่าย เนื่องจากสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันสามารถใช้ทดแทนกันได้
- ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีราคาสมเหตุสมผล

• การเลือกประเภทของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับอาหารเสริมที่ต้องการผลิต

โดยทั่วไปบรรจุภัณฑ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. บรรจุภัณฑ์ขั้นแรก (Primary Packaging) บรรจุภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่เป็นภาชนะบรรจุหรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ เช่น กระปุกใส่อาหารเสริม 
2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging) บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นแรก เช่น กล่องใส่กระปุกอาหารเสริม
3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging) บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า เช่น ลังบรรจุ 

วิธีและปัจจัยในการเลือกบรรจุภัณฑ์ การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ดีควรมีอะไรบ้าง
- หากลุ่มเป้าหมาย และภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งได้ดำเนินไปในขั้นตอนการออกแบบแพกเกจจิ้งแล้ว
- เลือกจากลักษณะของสินค้า
- ดูลักษณะการนำไปใช้งาน
- เลือกวัสดุที่จะนำมาใช้สำหรับภาชนะบรรจุ
- ดูความคงทนของบรรจุภัณฑ์
- การเก็บรักษาสินค้า
- ราคาของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ยอดนิยมสำหรับอาหารเสริมและวิตามิน

• Bottles (ขวด)
ขวดเป็นโซลูชันบรรจุภัณฑ์อาหารเสริมที่ใช้กันทั่วไป และอเนกประสงค์ที่สุด เหมาะสำหรับแบบเม็ด แคปซูล กัมมี่ ซอฟเจล หรือของเหลว ขวดมีหลายรูปแบบ ทั้งพลาสติกหรือแก้ว สีหรือใส ขวดสามารถช่วยปกป้องอาหารเสริมจากภายใน ความชื้น แมลงรบกวน หรือความเสียหายทางกายภาพอื่นๆ 
• Jars (กระปุก)  
กระปุกมีรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงสี่เหลี่ยม หรือทรงแบบกำหนดเอง เนื่องจากมีปากขวดที่กว้างกว่าขวด จึงมักเหมาะสำหรับใส่ผง ยาเม็ด และนอกจากนี้ กระปุกยังทำให้การจัดสัดส่วนเป็นเรื่องง่ายเนื่องจากสามารถรองรับช้อนขนาดต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย เช่นเดียวกับขวด กระปุกยังช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์ภายในจากความชื้น ออกซิเจน ความเสียหายทางกายภาพ และสัตว์รบกวน ยังมีตัวเลือกในการใช้แก้วสีทึบ สำหรับป้องกันรังสียูวีได้
• Blisters (แผงบลิสเตอร์)
บรรจุภัณฑ์บลิสเตอร์หรือแบบแผงเป็นอีกตัวเลือกยอดนิยมที่ช่วยให้มีเอกลักษณ์ และความปลอดภัยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยคุณสมบัติที่กำหนดของการออกแบบที่ง่ายและทนทาน บรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้เห็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในได้ เพื่อดึงดูดและตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค ป้องกันผลิตภัณฑ์จากปัจจัยภายนอก เช่น อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น และแสง ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ มีความคล่องตัว และสามารถพกพาได้สะดวก
• Stick packs
ซองสติ๊กเป็นวิธียอดนิยมในการทำวิตามิน อาหารเสริม และแร่ธาตุ โดยประกอบด้วยผงผสมที่บรรจุอยู่ในซองขนาดเล็กสำหรับรับประทานครั้งเดียว หากต้องการใช้ ให้เปิดบรรจุภัณฑ์แล้วเทส่วนผสมลงในเครื่องดื่ม เช่น น้ำ ชา หรือ กาแฟ และเพลิดเพลินไปตลอดทั้งวัน เสน่ห์ของแบบซองอยู่ที่ความสะดวกและปริมาณที่แม่นยำ ทำให้เป็นทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจสำหรับทั้งแบรนด์อาหารเสริมและผู้บริโภค
• Pouches
นอกจากนี้ Pouches ยังได้รับความนิยมในฐานะตัวเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกสำหรับเม็ด ผง เจล หรือของเหลว นอกเหนือจากศักยภาพในการปรับแต่งและการสร้างแบรนด์แล้ว ยังเป็นวิธีที่ดีในการลดขยะพลาสติกโดยไม่ต้องเปลี่ยนขวดพลาสติกทุกครั้ง 
• Tubes (หลอด)
แบบหลอดก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระหว่างเดินทาง จึงเป็นทางเลือกที่ทันสมัย พกพาสะดวก กะทัดรัด ทนทาน การปิดผนึกอย่างแน่นหนา ช่วยให้มั่นใจได้ถึงปริมาณที่ถูกต้อง การปนเปื้อน และเนื่องจากหลอดใช้วัสดุรีไซเคิลได้ 100% ในขณะที่ใช้พลังงานและน้ำเพียงเล็กน้อย จึงมีความยั่งยืนมากกว่าตัวเลือกบรรจุภัณฑ์แบบเดิม
• Custom Boxes 
การใช้กล่องแบบกำหนดเองแตกต่างจากบรรจุภัณฑ์แบบขวดหรือแบบกระปุกทั่วไป ซึ่งช่วยเพิ่มความโดดเด่น น่าสนใจให้กับบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้า ตัวอย่าง เช่นการรวมรหัส QR code ไว้ในกล่องแบบกำหนดเอง พอเมื่อสแกนรหัส QR มีลักษณะเป็นบรรจุภัณฑ์เสริมแบบโต้ตอบสามารถให้ข้อมูลมากมายแก่ผู้บริโภค รวมถึงรายละเอียดด้านโภชนาการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิดีโอของแบรนด์ และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ณ จุดขายสามารถช่วยกระบวนการตัดสินใจซื้อได้

สรุป

ทริคและข้อควรรู้ที่กูรูเช็ครวบรวมมาให้เกี่ยวกับฉลากอาหารเสริมพื้นฐาน ว่าควรใส่อะไรบ้าง อาหารเสริมที่ดีควรผ่านมาตรฐานอะไร ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ซึ่งเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งแต่ละแบรนด์ที่จะทำผลิตภัณฑ์ออกมาได้น่าสนใจแค่ไหนนะ ทั้งนี้อยู่ที่เจ้าของแบรนด์จะหยิบยกมาเล่นเพื่อเพิ่มลูกเล่นทางการตลาด กระตุ้นยออดขายให้ขายได้ดีขึ้น คนเข้าถึงง่าย เพิ่มเพิ่มภาพลักษณ์ให้ตัวเองได้มาแค่ไหนนะ

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ฟรี!! ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy


เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1965

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “