เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1771

2025-04-21 10:00

(กูรูเช็ค) เจาะลึกเวย์โปรตีนแต่ละประเภท ที่ผู้ประกอบการควรรู้!

การเลือกเวย์โปรตีนที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองสามารถช่วยให้การออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนที่เราจะเลือกซื้อเวย์โปรตีน มาทำความรู้จักกับ รูปแบบของเวย์โปรตีน ที่มีให้เลือกหลากหลายกันก่อนว่าแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งการเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Whey Protein Concentrate, Whey Protein Isolate และ Whey Protein Hydrolysate จะช่วยให้คุณเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของร่างกายได้อย่างเต็มที่

เวย์โปรตีน(Whey protein)

คือโปรตีนคุณภาพสูงที่ได้จากการแยกสกัดโปรตีนออกจากน้ำนมวัว ผ่านกระบวนการลดปริมาณไขมันและน้ำตาลให้น้อยที่สุด ก่อนจะถูกทำให้แห้งเป็นผงเพื่อให้สะดวกต่อการบริโภค โดยทั่วไปมักมีการเติมกลิ่นและรสชาติเพื่อเพิ่มความอร่อยและดื่มง่าย เวย์โปรตีนมีหลากหลายประเภท เพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม เช่น เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต(WPC), เวย์โปรตีนไอโซเลต(WPI) และ เวย์โปรตีนไฮโดรไลเสต(WPH) ซึ่งแต่ละชนิดมีระดับความเข้มข้นของโปรตีนและคุณสมบัติที่ต่างกัน ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น เวย์โปรตีนจึงกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมของคนรักสุขภาพและผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนในชีวิตประจำวัน

องค์ประกอบหลักของเวย์โปรตีน คืออะไร?

เวย์โปรตีนจัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในเวย์ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ โดยมีโปรตีนหลัก เช่น

- เบต้า-แลคโตโกลบูลิน(Beta-lactoglobulin) คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65%

- แอลฟา-แลคตัลบูมิน(Alpha-lactalbumin) ประมาณ 25%

- และ ซีรัมอัลบูมิน(Serum albumin) ประมาณ 8%

นอกจากนี้ยังอุดมด้วยกรดอะมิโน(Branched-Chain Amino Acids – BCAAs) อย่าง

ลิวซีน(Leucine), ไอโซลิวซีน(Isoleucine) และ วาลีน(Valine)

ลิวซีน(Leucine) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นการฟื้นตัวของร่างกาย และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอหลังการออกกำลังกาย

เป็นตัวกระตุ้นหลักของกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ(Muscle Protein Synthesis - MPS) ผ่านการกระตุ้นเส้นทาง mTOR ช่วยเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อและลดการสลายตัวของโปรตีนในร่างกาย

ปริมาณที่เหมาะสม : การบริโภคลิวซีนประมาณ 3–5 กรัมต่อมื้อ สามารถกระตุ้น MPS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวย์โปรตีนทั่วไปมักมีลิวซีนประมาณ 10–11% ของโปรตีนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าในปริมาณเวย์ 25 กรัม จะมีลิวซีนประมาณ 2.5–2.75 กรัม (อ้างอิง)

ไอโซลิวซีน(Isoleucine) มีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ และส่งเสริมการสร้างพลังงาน

ปริมาณที่เหมาะสม : เวย์โปรตีนมักมีไอโซลิวซีนประมาณ 6–7% ของโปรตีนทั้งหมด

วาลีน(Valine) ช่วยลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อและส่งเสริมการฟื้นตัวหลังออกกำลังกาย มีส่วนช่วยในระบบประสาทและพลังงานของร่างกาย

- FAO/WHO แนะนำปริมาณวาลีนที่ควรบริโภคคือ 24 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1.7–2 กรัมต่อวันสำหรับคนทั่วไป

- เวย์โปรตีนมักมีวาลีนประมาณ 5–6% ของโปรตีนทั้งหมด

ประเภทของเวย์โปรตีน

แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต (whey protein concentrate) เวย์โปรตีนไอโซเลต (whey protein isolate) และเวย์โปรตีนไฮโดรไลเสต (whey protein hydrolysate)

1. เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต (Whey Protein Concentrate: WPC) เป็นเวย์โปรตีนที่มีราคาถูกที่สุดในบรรดาผงเวย์โปรตีนทั้ง 3 ชนิด เวย์โปรตีนคอนเซนเทรตเป็นเวย์โปรตีนที่ผ่านกระบวนการกรองขั้นพื้นฐาน มีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 70–80% และยังคงมีไขมัน แลคโตส รวมถึงเปปไทด์บางชนิดที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันหลงเหลืออยู่ในส่วนประกอบ จุดเด่นของ WPC คือราคาย่อมเยาและให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกาย ผู้ที่ต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ หรือมีเป้าหมายในการเพิ่มน้ำหนัก เนื่องจากให้พลังงานและสารอาหารในราคาที่เข้าถึงง่าย

ข้อดี

- ราคาถูกที่สุดในบรรดาทุกชนิด

- มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากยังคงมีส่วนผสมของไขมันและแลคโตสในระดับต่ำ

- มีกรดอะมิโนและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย

- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนในปริมาณมากและคุ้มค่า

ข้อเสีย

- ปริมาณโปรตีนต่อหน่วยต่ำกว่า WPI และ WPH (ประมาณ 58-89% โปรตีน)

- มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากกว่า WPI และ WPH

- อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตสหรือมีปัญหากับการย่อยไขมัน

- ปริมาณไขมัน และปริมาณแลคโตส : สูง

ตัวอย่าง Whey Protein Concentrate

จุดเด่น : Whery Well Whey Protein Concentrate เป็นเวย์โปรตีนที่ให้ปริมาณโปรตีนสูงถึง 27 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค พร้อมด้วยกรดอะมิโนจำเป็นในกลุ่ม BCAAs ได้แก่ ลิวซีน(Leucine), ไอโซลิวซีน(Isoleucine) และ วาลีน(Valine) ที่ใส่เข้ามาเพิ่มสูงถึง 6,000 มิลลิกรัม ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายและลดอาการล้าของกล้ามเนื้อ ผลิตภัณฑ์นี้ให้พลังงานเพียง 120 กิโลแคลอรีต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง และไม่มีน้ำตาลหรือไขมันทรานส์ สูตรผสมวิตามิน แร่ธาตุ และซูเปอร์ฟู้ด

จุดเด่น : Ultimate Nutrition เป็นแบรนด์ที่รู้จักกันดีในผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีน Prostar 100% Whey Protein ซึ่งช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย ด้วยโปรตีน 25 กรัมต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง พร้อมกรดอะมิโน BCAAs L-Glutamine กว่า 6 กรัม อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น กว่า 20 ชนิด จากเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย และการเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่สุดเท่านั้นในการผลิต ของ ULTIMATE Whey Prostar

2. เวย์โปรตีนไอโซเลต (Whey Protein Isolate: WPI) เวย์โปรตีนไอโซเลตผ่านกระบวนการกรองเพิ่มเติมเพื่อให้ได้โปรตีนบริสุทธิ์สูงถึง 90% ขึ้นไป โดยมีไขมันและแลคโตสต่ำมาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตสหรือผู้ที่ต้องการควบคุมแคลอรี่อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ WPI ยังดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วกว่า WPC ทำให้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก

ข้อดี

- มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 90% หรือมากกว่า

- ปราศจากไขมันและแลคโตสเกือบทั้งหมด

- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมแคลอรีและไขมันในอาหาร

- ดีต่อผู้ที่มีปัญหากับการย่อยแลคโตส

ข้อเสีย

- ราคาค่อนข้างสูงกว่า WPC

- กระบวนการผลิตซับซ้อน ซึ่งอาจทำให้สูญเสียสารอาหารบางชนิด

- รสชาติอาจไม่อร่อยเท่ากับ WPC เพราะไม่มีไขมันหรือสารเติมเต็ม

ตัวอย่าง Whey Protein Isolate

จุดเด่น : Biovitt Whey Protein เป็นเวย์โปรตีนไอโซเลทที่มีโปรตีนสูงถึง 27 กรัมต่อการบริโภคหนึ่งสกู๊ป โดยให้พลังงานประมาณ 120 กิโลแคลอรี ปราศจากน้ำตาลและไขมันทรานส์ มีไขมันต่ำและคาร์โบไฮเดรตต่ำ อุดมด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนและ BCAAs เสริมด้วยพรีไบโอติกส์ช่วยระบบขับถ่าย โดยมีรสชาติให้ผู้บริโภคเลือกหลากหลาย เช่น ช็อกโกแลต, ชาไทย และออริจินอล ดื่มง่าย

จุดเด่น : XS Protein Isolate เป็นเวย์โปรตีนไอโซเลตที่มีโปรตีนสูงถึง 23 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย พร้อมกรดอะมิโน BCAAs 4.4 กรัมต่อหน่วยบริโภค เป็นเวย์นำเข้า Premium from USA ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูและการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ มีพลังงาน 90 แคลอรีต่อหน่วย และปราศจากน้ำตาล ไขมัน กลูเตน และถั่วเหลือง โดยมีโดยมีรสชาติให้เลือกหลากหลายดื่มง่าย

3. เวย์โปรตีนไฮโดรไลเสต (Whey Protein Hydrolysate: WPH) เวย์โปรตีนไฮโดรไลซ์เป็นเวย์โปรตีนที่ผ่านกระบวนการย่อยโมเลกุลด้วยเอนไซม์ (Hydrolysis) ทำให้โปรตีนมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วที่สุดเมื่อเทียบกับ WPC และ WPI เหมาะสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักและต้องการฟื้นฟูกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม Hydrolysate มักมีรสชาติขมเล็กน้อยและราคาสูงที่สุดในบรรดาเวย์ทั้งสองชนิด

ข้อดี

- ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส ทำให้โปรตีนย่อยง่ายและดูดซึมเร็ว

- ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนที่ดูดซึมได้รวดเร็ว

ข้อเสีย

- ราคาสูงที่สุดในบรรดาเวย์โปรตีนทั้งหมด

- รสชาติอาจไม่ดีเท่ากับ WPC และ WPI เพราะกระบวนการไฮโดรไลซิสอาจทำให้รสชาติเปลี่ยนไป

- อาจไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายทั่วไปหรือผู้ที่ไม่ต้องการฟื้นฟูกล้ามเนื้ออย่างเร่งด่วน

ตัวอย่าง Whey Protein Hydrolysate

จุดเด่น : Dymatize ISO100 เป็นเวย์โปรตีนชนิด Hydrolyzed Whey Isolate ที่ผ่านการย่อยบางส่วนทำให้ร่างกายดูดซึมได้รวดเร็ว ดูดซึมเร็วที่สุด ผ่านกระบวนการ Hydrolyze ย่อยอนุพันธ์ของเวย์โปรตีนให้สั้นลง ร่างกายจึงสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เร็วที่สุดให้โปรตีนสูงถึง 25 กรัมต่อ ทุกรสชาติ 1 ช้อน (ประมาณ 30 กรัม) มี BCAAs 5.5 กรัม(Leucine 2.7 กรัม) ช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ไม่มีน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไขมันต่ำ แคลอรีต่ำ(ประมาณ 110–120 kcal) และปราศจากกลูเตน รสชาติดี ดื่มง่าย ละลายไว ไม่มีกลิ่นคาว มีให้เลือกหลายรส

จุดเด่น : MUSCLETECH NITRO-TECH Whey Gold คือเวย์โปรตีนคุณภาพสูงที่ผสมระหว่าง ใช้เวย์โปรตีนไอโซเลต(Whey Protein Isolate) และเวย์โปรตีนเปปไทด์(Whey Peptides) เป็นส่วนประกอบหลัก ช่วยให้ดูดซึมเร็วและย่อยง่าย เหมาะสำหรับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย พร้อมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น เช่น BCAAs 5.5 กรัม และกลูตามีน 4 กรัม ซึ่งช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดอาการเมื่อยล้าหลังการฝึก ผ่านกระบวนการกรองเย็น(Cold Microfiltration) เพื่อลดปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรต ทำให้ได้โปรตีนที่สะอาดและบริสุทธิ์

รูปแบบของเวย์โปรตีน ผลิตแบบไหนได้บ้าง?

เวย์โปรตีนมีหลายรูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ เวย์โปรตีนผง(Whey Protein Powder), เวย์โปรตีนพร้อมดื่ม (Ready-to-Drink Whey Protein), เวย์โปรตีนบาร์(Whey Protein Bar) และ เวย์โปรตีนเม็ด(Whey Protein Tablets) ซึ่งแต่ละรูปแบบมีความสะดวกและเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน

1. เวย์โปรตีนผง(Whey Protein Powder)

เวย์โปรตีนผงเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากสามารถเลือกปริมาณการใช้ได้ตามความต้องการและสามารถผสมได้กับเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำ, นม หรือสมูทตี้

กระบวนการผลิต : ผงเวย์โปรตีนจะได้มาจากการสกัดโปรตีนจากน้ำนมผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วนำมาทำให้แห้งเป็นผง สามารถเลือกประเภทของเวย์โปรตีน (เช่น คอนเซนเทรต, ไอโซเลต หรือไฮโดรไลเซต) เพื่อให้เหมาะกับความต้องการราคาค่อนข้างประหยัด

ข้อดี

- สามารถเลือกปริมาณการใช้ตามต้องการ

- สามารถเลือกได้หลายรสชาติ

- อายุการเก็บรักษาค่อนข้างนาน

ข้อเสีย

- ไม่สะดวกหากต้องการดื่มในระหว่างวันหรือระหว่างการเดินทาง

- อายุการเก็บรักษาค่อนข้างนาน

การใช้งาน : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการเสริมโปรตีนในมื้ออาหาร และไว้ทานหลังการออกกำลังกาย อายุการเก็บรักษาค่อนข้างนาน

• เทคโนโลยีในการผลิตเวย์โปรตีนแบบผง

เทคโนโลยีการกรองด้วยเมมเบรน(Membrane Filtration) : เทคโนโลยีนี้เป็นกระบวนการแยกโปรตีนออกจากส่วนประกอบอื่นๆ ของนม โดยใช้เมมเบรนที่มีรูพรุนขนาดเล็ก กระบวนการนี้แบ่งออกเป็น 

- เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแยกโปรตีนออกจากส่วนประกอบอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไขมันและน้ำตาลแลคโตส

- เหมาะสำหรับการผลิตเวย์โปรตีนหลากหลายประเภท เช่น Whey Protein Concentrate(WPC) และ Whey Protein Isolate(WPI)

เทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชัน(Microencapsulation) : เทคโนโลยีนี้ใช้ในการเคลือบอนุภาคโปรตีนด้วยสารเคลือบ เช่น ไขมันหรือโพลิเมอร์ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพจากความชื้นหรืออุณหภูมิ และช่วยเพิ่มความเสถียรของผลิตภัณฑ์

- เทคโนโลยีนี้สามารถปรับให้เวย์โปรตีนปลดปล่อยกรดอะมิโนหรือสารอาหารในเวลาที่เหมาะสม เช่น ในกระบวนการย่อยอาหารหรือหลังการออกกำลังกาย

- การใช้ไมโครเอนแคปซูเลชันช่วยให้ผงเวย์โปรตีนมีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้นและลดปัญหาการจับตัวเป็นก้อน

การย่อยด้วยเอนไซม์(Hydrolysis) : เทคโนโลยีชีวภาพ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเวย์โปรตีนแบบผง โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ย่อยโปรตีนโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นเปปไทด์สั้น ๆ หรือกรดอะมิโน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น

- ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วมาก

- ลดโอกาสการแพ้โปรตีนจากนม(เพราะโมเลกุลเล็กลง)

- ย่อยง่าย เหมาะกับผู้มีระบบย่อยอาหารบอบบาง

2. เวย์โปรตีนพร้อมดื่ม(Ready-to-Drink Whey Protein

เวย์โปรตีนพร้อมดื่มเป็นเวย์โปรตีนที่บรรจุในขวดหรือถุง ซึ่งสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมอะไรเพิ่มเติม

กระบวนการผลิต : การผลิตจะใช้เวย์โปรตีนที่เตรียมไว้แล้วและบรรจุในภาชนะพร้อมดื่ม โดยมักจะมีรสชาติให้เลือกมากมาย

ข้อดี

- สะดวกมาก ไม่ต้องเตรียม

- พกพาง่ายและสามารถดื่มได้ทันที

- ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา

ข้อเสีย

- ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแบบผง

- อาจมีสารกันบูดหรือสารเติมแต่ง

- อายุการเก็บรักษาช่วงสั้นๆ

การใช้งาน : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องต้องการเสริมโปรตีนในมื้ออาหาร และไว้ทานหลังการออกกำลังกายและสามารถพกพาไปใช้ในระหว่างวันได้อีกด้วย

เวย์โปรตีนพร้อมดื่มมีอายุเก็บรักษาช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับการวางจำหน่ายใน ร้านสะดวกซื้อ ที่มีการซื้อขายหมุนเวียนเร็ว เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย

ด้วยความที่ ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง แต่แลกมากับความ สะดวกในการบริโภค และ โอกาสขายออกที่ง่ายและเร็วกว่า เราจึงมักเห็นผู้ประกอบการที่เลือกทำเวย์โปรตีนรูปแบบนี้ มุ่งเน้นช่องทางการขายที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ร้านสะดวกซื้อ ที่ลูกค้าสามารถหยิบซื้อและบริโภคได้ทันที

• เทคโนโลยีในการผลิตเวย์โปรตีนพร้อมดื่ม

เทคโนโลยีรีทอร์ท(Retort Technology)

- ใช้กระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงและแรงดัน ทำให้เวย์โปรตีนพร้อมดื่มสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 6-12 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น

- ผลลัพธ์คือเครื่องดื่มยังคงความเหลว ไม่ข้นหนืด ไม่มีกลิ่นคาว และไม่ใช้สารกันเสีย เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกและปลอดภัย

เทคโนโลยีไมโครพาร์ทิคูเลชัน(Microparticulation)

- เป็นกระบวนการควบคุมขนาดอนุภาคของเวย์โปรตีนให้เล็กลง เพื่อให้เครื่องดื่มมีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ไม่ตกตะกอน ดื่มง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องดื่มใสหรือโยเกิร์ตพร้อมดื่มโปรตีนสูงได้หลากหลาย

เทคโนโลยีเลือกใช้เวย์โปรตีนไอโซเลตและไฮโดรไลซ์(WPI & WPH)

- เวย์โปรตีนไอโซเลต(Whey Protein Isolate) และเวย์โปรตีนไฮโดรไลซ์(Whey Protein Hydrolysate) เป็นชนิดโปรตีนที่มีความบริสุทธิ์สูง ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว ปราศจากแลคโตสและไขมัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการโปรตีนคุณภาพสูงและดูแลสุขภาพ

- นิยมใช้ในเครื่องดื่มเวย์โปรตีนพร้อมดื่มที่ต้องการคุณค่าทางโภชนาการสูงและตอบโจทย์ผู้บริโภคที่แพ้นมวัวหรือควบคุมน้ำตาล

3. เวย์โปรตีนบาร์ (Whey Protein Bar)

โปรตีนบาร์เป็นขนมที่มีโปรตีนสูง มักจะมีรสชาติอร่อยและเหมาะสำหรับการทานเป็นของว่างหรือทานระหว่างวัน

กระบวนการผลิต : เวย์โปรตีนบาร์ทำโดยการผสมเวย์โปรตีนกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น ธัญพืช, ถั่ว, หรือผลไม้แห้ง จากนั้นจะอัดเป็นแท่งและเคลือบด้วยรสชาติที่เพิ่มขึ้น เช่น น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม เพื่อให้ทานสะดวกและมีรสชาติอร่อย

ข้อดี 

- พกพาง่ายและทานสะดวก

- รสชาติอร่อยและเหมาะกับผู้ที่ชอบขนม

- มีโปรตีนสูง

- อายุการเก็บรักษาค่อนข้างนาน

ข้อเสีย

- มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวาน

- ราคาค่อนข้างสูง

การใช้งาน : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตเวย์โปรตีนบาร์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค บาร์เหล่านี้เหมาะสำหรับการเสริมโปรตีนในมื้ออาหาร, ใช้เป็นของว่างระหว่างวัน หรือทานหลังการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการพกพาไปทานได้ทุกที่ทุกเวลา

โปรตีนบาร์ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่มีอายุการเก็บรักษานานกว่ารูปแบบอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับการวางจำหน่ายในหลายช่องทาง ทั้งร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าออนไลน์ ซึ่งช่องทางเหล่านี้ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

แม้ต้นทุนวัตถุดิบและการพัฒนาสูตรอาจสูงในช่วงแรก แต่ด้วยความที่ โปรตีนบาร์พกพาง่าย กินสะดวก ไม่ต้องแช่เย็น และตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการโปรตีนในชีวิตประจำวันแบบเร่งรีบ จึงทำให้ ขายออกง่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย

• เทคโนโลยีในการผลิตเวย์โปรตีนบาร์

เทคโนโลยีการผสมและขึ้นรูป(Mixing & Forming Technology) ใช้เครื่องจักรเฉพาะทางผสมเวย์โปรตีนกับส่วนผสมอื่น เช่น ธัญพืช ถั่ว ผลไม้อบแห้ง ไฟเบอร์ และสารให้ความหวาน จนได้เนื้อสัมผัสที่แน่นและคงรูปเป็นแท่ง จากนั้นนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องรีดหรือแม่พิมพ์ให้ได้ขนาดและรูปร่างที่สม่ำเสมอ

- ได้บาร์ที่เนื้อแน่น คงรูปดี พกพาสะดวก

- ควบคุมมาตรฐานการผลิตและปริมาณสารอาหารในแต่ละแท่งได้ง่าย

เทคโนโลยีการควบคุมเนื้อสัมผัสและรสชาติ(Texture & Flavor Optimization)

เลือกใช้เวย์โปรตีนชนิดต่าง ๆ (เช่น ไอโซเลต ไฮโดรไลซ์) ผสมกับโปรตีนจากพืชหรือไฟเบอร์ ปรับสัดส่วนไขมันและน้ำตาล ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล และเติมรสชาติหรือสารแต่งกลิ่นเพื่อให้ได้บาร์ที่หนึบ กรอบ หรือเนียนนุ่มตามต้องการ

- ได้รสชาติและเนื้อสัมผัสที่ถูกใจผู้บริโภค

- ลดกลิ่นคาว ลดรสขมของเวย์โปรตีน

- เพิ่มความหลากหลายของรสชาติและเนื้อสัมผัสในตลาด

เทคโนโลยีการเสริมคุณค่าทางโภชนาการ(Nutritional Fortification & Functional Ingredients)

เสริมส่วนผสมที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร หรือซุปเปอร์ฟู้ด เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักกีฬา ผู้ควบคุมน้ำหนัก หรือวีแกน

- ได้บาร์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

- สามารถพัฒนาสูตรเฉพาะ เช่น สูตรคีโต สูตรวีแกน หรือสูตรเสริมวิตามินเฉพาะทาง

4. เวย์โปรตีนเม็ด(Whey Protein Capsules)

กระบวนการผลิต : เวย์โปรตีนในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล เป็นการบีบอัดโปรตีนในรูปแบบเม็ดเพื่อการทานที่ง่ายและสะดวก

ข้อดี

- พกพาง่าย ทานสะดวก

- ไม่ต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติม

- อายุการเก็บรักษาค่อนข้างนาน

ข้อเสีย

- ต้องทานหลายเม็ดเพื่อให้ได้โปรตีนเพียงพอ

- อาจต้องการน้ำในการทาน

การใช้งาน : สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องต้องการเสริมโปรตีนในมื้ออาหาร และไว้ทานหลังการออกกำลังกายและสามารถพกพาไปใช้ในระหว่างวันได้อีกด้วย กรณีเด็กส่วนใหญ่ได้รับโปรตีนเพียงพอจากอาหารที่กินในแต่ละวันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสริมเวย์โปรตีน ยกเว้นกรณีที่มีภาวะขาดโปรตีนหรือมีปัญหาด้านโภชนาการ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน

• เทคโนโลยีในการผลิตเวย์โปรตีนแบบเม็ด

เทคโนโลยีการอัดเม็ด(Tableting Technology)

เวย์โปรตีนผงจะถูกนำมาผสมกับสารช่วยอัดเม็ด เช่น สารยึดเกาะ (binders) และสารช่วยแตกตัว (disintegrants) ก่อนนำไปอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดเม็ด เพื่อให้ได้เม็ดที่แข็งแรง ไม่แตกหักง่าย และละลายได้ดีเมื่อรับประทาน

- รับประทานง่าย ไม่ต้องชงน้ำ

- พกพาสะดวก เหมาะกับไลฟ์สไตล์เร่งรีบ

- ควบคุมปริมาณโปรตีนต่อเม็ดได้แม่นยำ

เทคโนโลยีการเลือกใช้เวย์โปรตีนไอโซเลตและไฮโดรไลซ์ (WPI & WPH Selection)

นิยมเลือกใช้เวย์โปรตีนไอโซเลต (WPI) หรือเวย์โปรตีนไฮโดรไลซ์ (WPH) ที่มีความบริสุทธิ์สูง โปรตีนเข้มข้น ดูดซึมง่าย และมีแลคโตสต่ำ เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุดและลดปัญหาท้องอืด

- โปรตีนคุณภาพสูง ดูดซึมไว

- เหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสหรือควบคุมไขมัน

- ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน

เทคโนโลยีการเสริมสารอาหารและปรับรสชาติ (Nutrient Fortification & Flavor Masking)

เสริมวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ หรือสารอาหารเสริมอื่น ๆ รวมถึงใช้เทคนิคแต่งกลิ่นและลดรสขมของเวย์โปรตีน เช่น การแต่งกลิ่นวานิลลาหรือผลไม้ เพื่อให้เม็ดเวย์โปรตีนรับประทานง่ายและถูกใจผู้บริโภค

- ได้สารอาหารครบถ้วนในเม็ดเดียว

- รสชาติดี รับประทานง่าย

- ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ชอบกลิ่นหรือรสเวย์โปรตีนแบบดั้งเดิม

• สารที่เพิ่มประสิทธิภาพในเวย์โปรตีน

Lactase เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งจำเป็นในเวย์โปรตีนเพราะช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึม แลคโตส (Lactose) ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะ แพ้แลคโตส (Lactose Intolerance) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเอนไซม์ Lactase ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือไม่สบายท้องหลังจากดื่มนม หรือเวย์โปรตีนที่มีแลคโตส (อ้างอิง)

ข้อดี 

- ช่วยย่อยแลคโตส ลดอาการแพ้นมล

- เพิ่มการดูดซึมสารอาหารจากนม

- เหมาะสำหรับผู้แพ้แลคโตส

- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น นมปราศจากแลคโตส

ข้อเสีย

- ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้

- ราคาสูงกว่านมปกติ

- อาจเสื่อมสภาพในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม

Leucine(ลิวซีน) เป็นกรดอะมิโนที่สามารถกระตุ้น(mTOR) ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ควบคุมการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้การสร้างมวลกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพสูงสุดการฟื้นฟูหลังออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ และ Leucine มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูหลังการออกกำลังกาย จากงานวิจัยลิวซีน สามารถรักษามวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงและสมรรถภาพทางกายได้ (อ้างอิง)

ข้อดี

- ช่วยสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

- ส่งเสริมการเติบโตของเซลล์

- ปรับสมดุลพลังงานในร่างกาย

ข้อเสีย

- เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและเนื้องอก

- อาจลดระยะเวลาอายุขัย

- อาจมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน

- อาจทำให้สะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น

Creatine Monohydrate(ครีเอทีน มอนอไฮเดรต) ช่วยเพิ่มระดับ phosphocreatine ในกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยฟื้นฟู ATP ทำให้มีพลังงานเพียงพอสำหรับการออกกำลังกายที่ใช้แรงสูง ช่วยให้สามารถฝึกหนักขึ้นและนานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้น การสังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ ดึงน้ำเข้าสู่เซลล์ทำให้กล้ามเนื้อดูเต็มขึ้น และลดการสะสมของ กรดแลกติก ลดอาการล้าและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดี : Creatine Monohycrate กับ เวย์โปรตีน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เร็วขึ้น แข็งแรงขึ้น และฟื้นตัวดีขึ้น เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพทางกาย

ข้อเสีย : ผลข้างเคียงในปริมาณสูง: การใช้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเก็บน้ำในร่างกาย, ท้องอืด หรือท้องเสียได้

วิตามินบีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B Complex) คือกลุ่มวิตามินที่ประกอบด้วยวิตามินบีหลายชนิด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะในการเผาผลาญพลังงานจากอาหาร การทำงานของระบบประสาท และการเสริมสร้างสุขภาพผิวและเส้นผม

วิตามินบีคอมเพล็กซ์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมโปรตีนจากเวย์โปรตีน โดยสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนโปรตีนในร่างกายให้กลายเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ทำให้การฟื้นฟูและการสร้างกล้ามเนื้อเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ข้อดี

- สนับสนุนการสร้างพลังงานระหว่างการออกกำลังกาย

- ช่วยลดความเครียดและส่งเสริมการฟื้นฟู

- เสริมสร้างการสังเคราะห์โปรตีนและการสร้างกล้ามเนื้อ

- ควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกล้ามเนื้อ

ข้อเสีย

- การใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้องหรืออาเจียน

- บางคนอาจมีปฏิกิริยาต่อวิตามินบีคอมเพล็กซ์สูงเกินไป

- ค่าใช้จ่ายในการผลิตอาจสูงขึ้น

- วิตามินบีบางชนิดอาจเสื่อมสภาพเมื่อถูกความร้อนหรือแสง

บริษัทนำเข้าสารสกัดผู้ประกอบการสามารถหา สารสกัดเวย์โปรตีน ทั้งหมดในไทยได้ที่

1. บริษัท ไอไบโอ จำกัด

ที่ตั้ง : กรุงเทพมหานคร

บริษัทที่มีรากฐานจากกลุ่มผู้นำเข้าและส่งออกวัตถุดิบเวย์โปรตีนจากทั่วโลก ให้บริการรับผลิตเวย์โปรตีนแบบครบวงจร (OEM/ODM) และคัดสรรวัตถุดิบเวย์โปรตีนคุณภาพสูงสำหรับใช้ในโรงงานผลิตอาหารเสริม รวมถึงสามารถจัดหาวัตถุดิบให้กับโรงงานอื่น ๆ ได้ มีมาตรฐานการนำเข้าและส่งออกวัตถุดิบเวย์โปรตีนระดับสากล

2. บริษัท รอแยล-ดี (ไทยแลนด์) จำกัด

ที่ตั้ง : กรุงเทพมหานคร

ผลิตนำเข้าเวย์โปรตีนจากอเมริกาและยุโรป จำหน่ายเวย์โปรตีนผงเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตอาหารเสริมและเครื่องดื่มในไทยและสามารถส่งออกได้

3. บริษัท เอเชียนไบโอเพล็กซ์ จำกัด

ที่ตั้ง : ชลบุรี

จำหน่ายเวย์โปรตีนไอโซเลต 91% นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาขายเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตอาหารเสริมและเครื่องดื่มในไทยและต่างประเทศ มีมาตรฐาน ISO, GMP และเอกสารรับรองสำหรับขึ้นทะเบียน อย.ยืนยันว่าเป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบเวย์โปรตีนให้กับโรงงานอื่น

การเลือกประเภทเวย์โปรตีนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมีความสำคัญต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น Whey Concentrate สำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการความคุ้มค่า, Whey Isolate สำหรับผู้ที่เน้นโปรตีนสูง ไขมันต่ำ, หรือ Whey Hydrolysate สำหรับกลุ่มนักกีฬาและสายฟิตเนสที่ต้องการการดูดซึมรวดเร็ว นอกจากนี้ การเสริมสารสำคัญอย่าง Lactase, Leucine, Creatine, และ Vitamin B Complex ยังสามารถเพิ่มจุดขายและตอบโจทย์ด้านสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน

สำหรับผู้ประการที่สนใจและอยากผลิตเวย์โปรตีน คลิ๊ก https://www.gurucheck.co.th/article_detail/supplement-Whey%20Protein/779

 

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ฟรี!! ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1771

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “