เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 11688

2023-05-19 14:00

(กูรูเช็ค) เจาะ โพรไบโอติก ไปถึงลำไส้จริงไหม

คิดว่าคุณๆ น่าจะเห็นผลิตภัณฑ์อาหารโพรไบโอติกในตลาด ตามหลากหลายช่องทาง จนคุ้นหูคุ้นตามากขึ้นแล้ว หรือแม้กระทั่งอาหารที่ทานประจำ ก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีโพรไบโอติกแต่คุณๆอาจจะไม่รู้เท่านั้นเอง อย่างเช่น กิมจิ นัตโตะ(หรืออีกชื่ออย่าง ถั่วเน่า) ของหมักดอง ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต

แต่อาหารเพื่อสุขภาพที่มีส่วนประกอบจากแบคทีเรียโพรไบโอติกนั้น จำเป็นต้องเลือกแหล่งที่เหมาะสม เพราะจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต้องมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค(PATHOGEN) ต้องมีความสามารถในการเกาะที่เยื่อบุผนังลำไส้ และต้องทนต่อสภาวะในทางเดินอาหาร

กูรูเช็คเลยตั้งใจ มาเจาะเรื่องเกี่ยวกับโพรไบโอติก เพื่อให้คุณๆ สามารถตัดสินใจและรับทราบข้อเท็จจริงของวงการอาหารโพรไบโอติกได้มากขึ้น จะได้มีประโยชน์กับคุณๆที่สนใจเรื่องสุขภาพ หรือมีปัญหารู้สึกว่าท้องไส้ไม่ค่อยสมดุล เดี๋ยวท้องผูก เดี๋ยวท้องเสีย ก็อย่าลืมลองหาอาหารที่เป็นแหล่งของโพรไบโอติกมาลองทานกันดูนะ ถ้าพร้อมเเล้วเราไปทำความรู้จักกับ โพรไบโอติกกันเลยคุณๆ

1. โพรไบโอติก คืออะไร

โพรไบโอติก (PROBIOTIC) อธิบายง่ายๆ คือ จุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นชนิดสายพันธุ์ดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย แต่สำหรับคำจำกัดความที่ใช้ในปัจจุบันของ องค์การอาหารและเกษตรแห่งองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ(FAO-WHO) ได้นิยามใหม่ว่าเป็น "จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพต่อโฮสต์" (อ้างอิง)

แต่โพรไบโอติกไม่ได้เหมาะกับทุกคน ถ้าคุณๆ เป็นคนที่เม็ดเลือดขาวต่ำ ภูมิคุ้มกันต่ำ ได้รับยากดภูมิหรือได้รับเคมีบำบัดอยู่ ก็ควรจะงดเว้นอาหารประเภท โยเกิร์ต นมเปรี้ยว รวมไปถึงอาหารหมักดอง เพราะอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้

2. ประโยชน์ของโพรไบโอติก คืออะไร

• ปรับปรุงสุขภาพของลำไส้ 
• ปรับปรุงการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน 
• ลดคอเลสเตอรอลในเลือด 
• ป้องกันมะเร็ง 

ถึงแม้ว่าประโยชน์ต่อสุขภาพของโพรไบโอติกจะได้รับการบันทึกไว้ แต่เรื่องอื่นๆ ก็ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง อย่างเช่นเรื่องการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน การป้องกันโรคท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะ และรวมถึงการช่วยการเผาผลาญแลคโตส แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่บอกให้ใช้ในสภาวะโรคทางคลินิกอื่นๆ

3. คุณสมบัติของ “โพรไบโอติก” ที่ดี

เพื่อให้เป็นจุลินทรีย์ที่เกิดประโยชน์ได้ ต้องสามารถทดลองแล้วว่ามีคุณสมบัติดังนี้
• ทนทานต่อกรด น้ำย่อย และน้ำดี
• ยึดเกาะกับเยื่อเมือกและเยื่อบุผิว ซึ่งสำคัญสำหรับการป้องกันการยึดเกาะและการตั้งรกรากของเชื้อโรคตัวร้าย 
• ฤทธิ์ต้านจุลชีพต่อแบคทีเรียก่อโรค (PATHOGENIC BACTERIA)

4. สายพันธ์จุลินทรีย์ที่ประยุกต์ใช้เป็น “โพรไบโอติก”

จากงานวิจัยจุลินทรีย์สายพันธ์ที่สำคัญ สายพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ ที่มีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือสายพันธุ์ที่อยู่ในจำพวก Lactococcus ที่เรียกได้ว่า ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของโพรไบโอติก แต่ในวิจัยที่กูรูเช็คเจอมายืนยัน และอีกตัวอย่าง Bifidobacterium

• ตัวอย่างสำหรับจุลินทรีย์ที่ถือเป็นโพรไบโอติก สายพันธุ์แลคโตบาซิลลัส(Lactobacillus species)
L. acidophilus 
L. casei 
L. crispatus 
L. gallinarum 
L. gasseri 
L. johnsonii 
L. paracasei 
L. plantarum 
L. reuteri 
L. rhamnosus
• ตัวอย่างสำหรับจุลินทรีย์ที่ถือเป็นโพรไบโอติก สายพันธุ์บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium species)
B. adolescentis  
B. animalis  
B. bifidum  
B. breve  
B. infantis  
B. lactis 2  
B. longum

5. เรื่องสำคัญ ต้องระวัง ของ “อาหารเสริมโพรไบโอติก”

โพรไบโอติกโดยทั่วไปจัดอยู่ในประเภทอาหารมากกว่ายา ซึ่งหมายความว่าโพรไบโอติก จะไม่ผ่านการทดสอบที่เข้มงวดของยา (อ้างอิง)
จึงไม่สามารถแน่ใจได้เสมอว่า
• ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจะมีแบคทีเรียที่ระบุไว้บนฉลากอาหารอยู่จริง
• ผลิตภัณฑ์มีแบคทีเรียปริมาณเพียงพอที่จะเกิดผลลัพธ์ได้
• แบคทีเรียสามารถอยู่รอดได้นานพอที่จะไปถึงลำไส้ของคุณๆ
• โพรไบโอติกมีหลายประเภท ซึ่งให้ผลแตกต่างกันต่อร่างกาย แถมไม่ค่อยรู้กันว่าชนิดใดดีที่สุด

แต่ทั้งนี้วงการอาหารเสริมก็เริ่มมีเทคโนโลยีที่คิดค้นออกมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังกล่าวนี้ อย่างเช่น เทคโนโลยี Hyper Encapsulation มาเคลือบจุลินทรีย์ไว้ ให้ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร ไปถึงลำไส้อย่างปลอดภัยนั่นเองค่ะ
พอรู้แบบนี้ กูรูเช็คก็ยังคงอยากจะย้ำอีกครั้ง อย่างที่เคยพูดเสมอมาว่า ผลลัพธ์ก็ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะอาหารหรืออาหารเสริม บางคนทานอาจจะได้ผลลัพธ์ดี ทั้งที่เป็นตัวที่ไม่มีวิจัยยืนยันแนะนำ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีไป เพราะงั้นอยากให้ลองสังเกตดูอาการของตัวเองแล้วตัดสิน ก็ดีค่ะ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ และตัวเลือกให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ และฝากติดตามข้อมูลสุขภาพ ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

11688

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “