เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2585

2024-05-21 18:00

(กูรูเช็ค)โพรไบโอติก ลดความเครียด อาการนอนไม่หลับ ได้จริงหรอ?

• โพรไบโอติก (PROBIOTICS) กับระบบสมองและความจำ

สมอง เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่คอยสั่งการ การทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ความทรงจำ ไปจนถึงการแสดงอารมณ์ต่างๆ  ในปัจจุบันคนต่างหันมาให้ความสำคัญกับสมองและอารมณ์ ไปจนถึงสุขภาพจิตกันมากขึ้น โดย Rabbi Dr. Geoffrey Haber ผู้อำนวยการฝ่ายการดูแลสุขภาพจิตแห่งเบย์เครส เคยบอกไว้ว่าการหมั่นดูแลจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข สามารถส่งผลต่อสุขภาพสมองในเชิงบวกเสมอ

ลำไส้ ก็เหมือนสมองที่สองของมนุษย์ มีระบบประสาทอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไม่ต้องให้สมองสั่งการ ซึ่งควบคุมการย่อย เปลี่ยนเป็นสารอาหารระดับโมเลกุลที่ร่างกายดูดซึมได้ และสร้างฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ช่วยดูแลระบบทางเดินอาหาร  และหากจุลินทรีย์ไม่สมดุล ลำไส้ไม่แข็งแรง จะเกิดปัญหากับการย่อยและการดูดซึม เกิดความผิดปกติทางเมทาบอลิก ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่นๆในร่างกาย

ดังนั้น โพรไบโอติกที่เรารู้จักกันดี ว่าเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ช่วยให้มีระบบทางเดินอาหารที่ดี แข็งแรง ลดโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของประชากรในประเทศ โดยมีผลการศึกษาว่า โพรไบโอติกอาจช่วยเสริมประสิทธิภาพสมองด้านการควบคุมอารมณ์และความจำ ที่เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของสุขภาพด้วย

คุณๆ อาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโพรไบโอติกมีประโยชน์กับร่างกายมาเยอะแล้วใช่มั๊ย ความจริงเค้ามีประโยชน์หลายอย่างในร่างกาย รวมถึงอารมณ์และการนอนหลับ โดยสุขภาพของลำไส้กับสมองมีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยการหลั่งสารเคมีต่างๆ เพื่อส่งสัญญาณให้อีกส่วนผ่านระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าลำไส้อาจเปรียบได้กับสมองที่สองของร่างกาย เพราะมีการหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitters) เช่นเดียวกับสมอง เช่น เซโรโทนิน โดปามีน กรดแกรมม่า (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ของร่างกาย และจากข้อเท็จจริง พบว่า 90% ของเซโรโทนินหลั่งออกจากลำไส้  จึงไม่แปลกใจว่าเวลาปวดท้อง ขับถ่ายไม่ดี คุณๆ จะมีอารมณ์หงุดหงิดเป็นพิเศษ แถมยังลามไปถึงโรคสุขภาพจิตอื่นๆ ที่น่าจะเกิดจากความเครียด เช่น นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า เพราะลำไส้หลั่งเซโรโทนินได้น้อย ทำให้จิตใจคุณๆ ไม่สงบ ไม่ผ่อนคลาย (อ้างอิง)

ลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเรื้อรัง และโรคท้องไส้อื่นๆ จึงสามารถเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าและโรคเครียดได้ ในขณะเดียวกันความเครียด และอาการซึมเศร้าก็สามารถส่งผลต่อลำไส้ผ่านสารสื่อประสาทต่างๆ เช่น ทำให้ลำไส้บิดปวด คลื่นไส้ ทานอาหารไม่ลงได้เช่นกัน โพรไบโอติกจึงมีส่วนช่วยเสริมสมดุลลำไส้ ปรับอารมณ์ เสริมความจำ และลดความเครียด

• ลำไส้กับสมองสัมพันธ์กันอย่างไร

คนส่วนมากมักจะคิดว่าสมองกับลำไส้นั้นไม่มีความสัมพันธ์ แต่จริงๆแล้วอวัยวะทั้ง 2 ส่วนนี้เชื่อมต่อกัน ลำไส้และสมองเชื่อมต่อกัน ผ่านส่วนที่เรียกว่าแกนลำไส้และสมอง โดยทั้งสองเชื่อมโยงกันผ่านการส่งสัญญาณทางเคมีระหว่างระบบประสาทในระบบทางเดินอาหารที่เรียกว่าระบบประสาทในลำไส้ และระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งรวมถึงสมองด้วย การเชื่อมต่อข้อมูลหลักระหว่างสมองและลำไส้คือเส้นประสาทเวกัส(vagus nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดในร่างกาย  แต่ถ้าเกิดลำไส้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษจนเข้าสู่กระแสเลือด ก็ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรน เป็นมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคอ้วน โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้นในเด็ก นอนไม่หลับ โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง

การสื่อสารแบบสองทิศทางระหว่างไมโครไบโอมในลำไส้และสมอง มีสื่อกลางเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทในลำไส้ ระบบประสาทต่อมไร้ท่อ และระบบไหลเวียนเลือด โดยการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาของโรคออทิสติก ความวิตกกังวล พฤติกรรมคล้ายซึมเศร้า การผลิตสารสื่อประสาทและฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย (อ้างอิง)

• โพรไบโอติก (PROBIOTICS) ตัวช่วยเพิ่มอารมณ์และการทำงานของสมอง

โพรไบโอติก สามารถช่วยเพิ่มอารมณ์และการทำงานของสมองให้สมดุลได้ เนื่องจากสามารถผลิตสารสื่อประสาทหลายชนิดเช่นเดียวกันกับสมองเช่น เซโรโทนิน โดพามีน และกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น  มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ โดยเซโรโทนินถูกสร้างขึ้นในทางเดินอาหาร แล้วส่งผลต่อลำไส้มักจะส่งผลต่อสมองด้วย และในทางกลับกัน เมื่อสมองรู้สึกถึงปัญหา การตอบสนองแบบสู้หรือหนี สมองจะส่งสัญญาณเตือนไปยังลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ในเหตุการณ์ที่มีความตึงเครียดอาจทำให้เกิดปัญหาการย่อยอาหาร เช่น ประสาทหรือท้องไส้ปั่นป่วน ในทางกลับกันปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่น อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคโครห์น หรืออาการท้องผูกเรื้อรังอาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าได้ (อ้างอิง)

• โพรไบโอติก (PROBIOTICS) ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นยังไง

โพรไบโอติก มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาอาการทางจิต เช่น ลดความเครียด ลดความวิตกกังวล และ ลดภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงบำบัดอาการนอนหลับ ให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันภาวะโรคซึมเศร้า ช่วยควบคุมความอยากอาหาร ช่วยลดอาการผิดปกติในเด็กออทิสติก เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย และปรับสมดุลอาหาร  ส่งผลให้ “ไซโคไบโอติก” ได้กลายเป็นอีกทางเลือกในการนำมาใช้บำบัดและช่วยดูแลสุขภาพจิต (อ้างอิง) รวมถึงพาราไบโอติก lactobacillus gasseri cp2305 ยังสามารถช่วยลดและควบคุมการตอบสนองต่อความเครียด ทำให้คุณภาพพการนอนหลับดีขึ้นด้วยนะ (อ้างอิง)

สรุป

โพรไบโอติก เป็นตัวเลือกที่สำคัญในการเสริมสุขภาพของระบบสมองและความจำได้หรือไม่นั้น ถึงแม้จะมีการศึกษาถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อระบบสมองและความจำจะยังไม่มากและไม่ชัดเจนเท่าที่ควร แต่มีหลักฐานที่แสดงถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินหายใจ ดูแลสมดุลผิว จุดซ่อนเร้น และดูแลตับด้วยนะ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยชัดเจนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ส่งผลกระตุ้นการทำงานระบบสมองได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลร่างกายที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามนะ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2585

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “