เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2434

2024-05-15 17:00

(กูรูเช็ค)โพรไบโอติก เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพดี ได้จริงมั๊ย

กูรูเช็ค

• โพรไบโอติก (Probiotics) กับระบบภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบันมีโรค เชื้อโรคเกิดขึ้นเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น โรคตามฤดูกาล และโรคระบาดใหญ่อย่างโรคโควิด-19 (Covid-19) รวมถึงการพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตที่เคร่งเครียด เร่งรีบ ล้วนส่งผลทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายขาดความสมดุลเป็นผลทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้นระบบภูมิคุมกันเราต้องสมดุล และหนึ่งในระบบร่างกายที่ส่งผลสำคัญต่อสุขภาพของเราอีก ก็คือระบบย่อยอาหาร ดังนั้นการที่ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี แบคทีเรียในลำไส้อยู่ในภาวะสมดุล ก็จะส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีตามมาด้วย

ทางเดินอาหาร คือส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเรารับสิ่งต่างๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านโพรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอวัยวะทั้งหมดก็คือ ปาก รวมถึงเชื้อจุลินทรีย์จำนวนมากที่ทั้งมีประโยชน์และเป็นเชื้อที่ก่อโรค ส่วนสำคัญที่สุดของทางเดินอาหารก็คือลำไส้ใหญ่ อวัยวะที่ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารออกจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และเป็นที่อยู่อาศัยของโพรไบโอติกจำนวนมาก คุณๆ คงพอทราบกันแล้วว่าลำไส้จะมีสุขภาพดีได้ ต้องมีโพรไบโอติก และร่างกายที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็ต้องมีโปรไบโอติกด้วยเช่นกัน

โพรไบโอติกสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ การมีโพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารที่เพียงพอจะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อได้มากยิ่งขึ้น ลดการติดเชื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลดการติดเชื้อในบริเวณปอด เพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้

โพรไบโอติกกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร

โพรไบโอติก สามารถกระตุ้นการตอบสนองและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสื่อสารกับเซลล์เดนไดรต์ซึ่งเป็นเซลล์แสดงแอนติเจนที่อยู่ที่ด้านบนและด้านล่างของเนื้อเยื่อ (epithelial barrier) ส่งผลให้มีการสร้างสารไซโตไคน์(cytokines) และกระตุ้นการทำงานของ regulatory T cells (Tregs) ซึ่งสาร cytokines จะไปกระตุ้นการ ทำงานของของเม็ดเลือดขาวชนิด T-lymphocytes (Th1 และ Th2) ในขณะที่ Tregs กระตุ้นให้สร้างสารสื่อ TGF-beta และ Interleucine-10 ที่มีบทบาทในการรักษาคุณสมบัติของเนื้อเยื่อ(epithelial barrier) เพื่อปรับปรุงการตอบสนอง และการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันสมดุล (อ้างอิง)

โพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ในลำไส้ ยังเป็นหนึ่งในตัวควบคุมสัญญาณที่สำคัญของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล(neutrophil) ในแง่ของการผลิต และการทำงานในสภาวะที่ร่างกายมการติดเชื้อเกิดขึ้น  นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อโพรไบโอติกในลำไส้สามารถเหนี่ยวนำระบบการทำงานของเซลล์ในระบบเลือดและน้ำเหลืองในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจง (innate lymphoid cell; ILC) ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกที่จะต้อสู้และป้องกันร่างกายของเราจากเชื้อโรค นอกจากนี้เชื้อโพรไบโอติกยังสามารถลดการเกิดการอักเสบจากเชื้อก่อโรค โดยผ่านการส่งสัญญาณควบคุมโปรตีนตัวรับจดจำรูปแบบชนิด toll-like receptor (pattern recognition receptors, PRRs) ที่ทำหน้าที่รับรู้และทำลายสิ่งแปลกปลอมในระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (อ้างอิง)

โพรไบโอติกยังช่วยให้ร่างกายผลิต CYTOKINES สารหลั่งประเภท POLYPEPTIDE ที่ผลิตจากเซลล์และส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน (IMMUNE SYSTEM) ในร่างกายตามแต่ล่ะชนิดที่หลั่งออกมา ซึ่ง CYTOKINES ที่ถูกกระตุ้นโดยโปรไบโอติกจะช่วยปรับสภาพแวดล้อมโดยรวมในลำไส้ให้เหมาะสมต่อการคงอยู่ของโพรไบโอติก และกำจัดเชื้อก่อโรคตามธรรมชาติ

• ทำความรู้จัก โพรไบโอติก (Probiotics)

โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโพรไบโอติกสามารถสร้างสารต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น  อ่านข้อมูลเพิ่มเติม โพรไบโอติก พรีไบโอติกคืออะไรเลือกกินยังไงให้ได้ผล! คลิก!

อาหารที่อุดมไปด้วย Probiotics และ Prebiotics
1. ผักและผลไม้ เช่น หัวหอม กะหล่ำปลี กระเทียม กล้วย แอปเปิ้ล
2. ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง ถั่วเหลือง พิสตาชิโอ
3. อาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เพราะอาหารเหล่านี้จะผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ทำให้เมื่อกินอาหารเหล่านี้ก็จะได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไปด้วย 
4. นมที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะในนมแม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในน้ำนมแม่นอกจากจะมีสารอาหารสำคัญต่าง ๆ ต่อทารก ก็ยังมีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย

• โพรไบโอติก (Probiotics) กับประโยชน์ด้านสุขภาพ

การกินโพรไบโอติกนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ดูแลสุขภาพและผู้รักสุขภาพ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในท้องตลาดมีเยอะมากๆ เนื่องจากโพรไบโอติกมีคุณประโยชน์มากมายทั้งระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจากที่เกริ่นไว้ในเบื้องต้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ดังนี้
ระบบทางเดินอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, ท้องที่จากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน, ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส 
• ระบบผิวหนัง ปรับสมดุลผิว โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้ สิว 
ระบบประสาทและลดความเครียด รวมถึงอาการนอนไม่หลับ 
• ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด, ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน ดูแลจุดซ่อนเร้น
• ระบบทางเดินหายใจ เกี่ยวกับปอด การติดเชื้อไวรัส เชื้อโรคต่างๆ 
• ระบบต่างๆที่เกี่ยวกับร่างกาย เช่น ตับ ลดการเกิดภาวะไขมันที่ตับ (น้ำดีและ immunoglobulin A ช่วยควบคุมองค์ประกอบของจุลินทรีย์)

สรุป

การมีโพรไบโอติกในร่างกายที่เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้นกันต่อการติดเชื้อได้ดี เพราะโพรไบโอติกจะช่วยปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการอักเสบ โดยปริมาณและความหลากหลายของเชื้อโพรไบโอติก เป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพ ต่อระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยสังเคราะห์สารอาหารและวิตามินที่เซลล์ในร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงสังเคราะห์สารเมตาบอไลต์ที่มีคุณสมบัติต้านการติดเชื้อ ลดการอักเสบ การยับยั้งและลดจำนวนเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ปรับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2434

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “