เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 5359

2024-01-31 10:00

(กูรูเช็ค) Parabiotics เทรนด์ใหม่ของ Probiotics ดียังไง?

Parabiotics เทรนด์ใหม่ของ Probiotics ดียังไง?

    โพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้วส่งผลต่อการส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดด้านการผลิต การจัดเก็บ และเทคโนโลยีการส่งโพรไบโอติกนั้นให้ไปถึงลำไส้เพื่อการทำงานและดูดซึมอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นจึงมีแนวคิดเกิดขึ้นใหม่เพื่อผู้ประกอบการด้านอาหารเสริมที่จะเปลี่ยนโพรไบโอติกที่มีชีวิตไปสู่พาราไบโอติก (Parabiotics) เพื่อง่ายต่อการผลิต จัดเก็บและขนส่ง แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักพาราไบโอติก กูรูเช็คจะพาคุณๆ ไปรู้จักกับคำศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจุลินทรีย์ในลำไส้นี้กันก่อนค่ะ

Probiotic คืออะไร

    Probiotic คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตและมีประโยชน์ต่อร่างกาย อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งเมื่อมีอยู่ในประมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย

Prebiotic คืออะไร

    Prebiotic คือ อาหารของโพรไบโอติก มักเป็นเส้นใยอาหารที่ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่โพรไบโอติกในร่างกายสามารถย่อยสลายได้และช่วยเพิ่มจำนวนและส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติก

Synbiotic คืออะไร

    Synbiotic คือ พรีไบโอติก (Prebiotic) + โพรไบโอติก (Probiotic)

Postbiotic คืออะไร

    Postbiotic คือ สาร (metabolites) ที่เกิดจากโพรไบโอติกผลิตขึ้นจากการหมักบ่มกับพรีไบโอติกหรือเรียกว่าเป็น metabolic products จากโพรไบโอติก ไม่ว่าจะเป็น

• เอนไซม์ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน
• แบคทีริโอซิน ช่วยกำจัดหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดี
• กรดไขมันสายสั้น  ช่วยทำให้เยื่อบุผนังลำไส้แข็งแรงและมีสุขภาพดี
• วิตามิน วิตามินบีและวิตามินเค
• กรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบของโปรตีน
• สารสื่อประสาทในสมอง เป็นตัวส่งสัญญาณในสมอง เช่น เซโรโทนิน โดปามีน
• ไนตริก ออกไซด์ มีความสำคัญต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
• กรดอินทรีย์ ช่วยดูดซึมแร่ธาตุและรักษาสมดุลกรดด่างในทางเดินอาหาร
• สารส่งสัญญาณภูมิคุ้มกัน ช่วยสนับสนุนเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Parabiotic คืออะไร

    Parabiotic คือ จุลินทรีย์ที่ดีแต่ไม่สามารถทำงานได้ (inactive) โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ทำให้จุลินทรีย์ inactive เช่น โดนความร้อน ผ่านกระบวนการทางเคมี การฉายรังสีแกมมา การฉายรังสี UV หรือผ่านคลื่นความถี่สูง นอกจากนี้สารสกัดเซลล์หยาบ (crude cells extract) ของเชื้อจุลินทรีย์ก็ถือเป็นพาราไบโอติกด้วยเช่นกัน ถึงแม้จะเป็นเชื้อที่ inactive แต่ยังมีองค์ประกอบของเซลล์โพรไบโอติกอยู่ จึงยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย

    ซึ่งประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจาก Parabiotics นั้นมาจากโครงสร้างหรือองค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่ดีที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงแม้จะถูกทำให้ inactive โดยโครงสร้างของจุลินทรีย์ที่ยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น teichoic acids, peptidoglycan-derived muropeptides, โมเลกุลที่ยื่นออกมาบนผิวเซลล์ของจุลินทรีย์ (pili, fmbriae, fagella), polysaccharides like exopolysaccharides, โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับผิวเซลล์ของจุลินทรีย์, สารลดแรงตึงผิวที่เกาะติดกับผนังเซลล์, teichoic acids เป็นต้น

ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากพาราไบโอติก

    พาราไบโอติกมีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่ต่างๆ เช่น
• ช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิต้านทานและเสริมภูมิต้านทาน
• ช่วยยับยั้งการอักเสบ
• ลดการเกิด Biofilm ที่เป็นสารพอลิเมอร์และปล่อยออกมานอกเซลล์จุลินทรีย์
• ช่วยต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมจากการเพิ่มการทำงานของ gut barrier 
• เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
• ลดคลอเรสเตอรอล
• เพิ่มการแสดงออกของโปรตีน tight junction ในเซลล์ลำไส้ ทำให้ไม่เกิดภาวะลำไส้รั่ว

โอกาสในการพัฒนาธุรกิจของพาราไบโอติก

    พาราไบโอติกถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือบกพร่องไม่ควรกินอาหารเสริมโพรไบโอติก เพราะมีโอกาสที่จุลินทรีย์เหล่านั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายแทนที่จะได้ผลดี เมื่อเปรียบเทียบข้อดีระหว่างพาราไบโอติกกับ โพรไบโอติกอาจสรุปได้ดังนี้

• พาราไบโอติกมีโครงสร้างโมเลกุลที่รู้จักดีอยู่แล้วของจุลินทรีย์นั้นๆ เช่น โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับผิวเซลล์ของจุลินทรีย์ซึ่งสามารถนำโปรตีนนั้นไปใช้ได้ในรูปแบบที่สกัดเพื่อทำให้บริสุทธิ์ได้เลย ทำให้มีความเสถียรมากขึ้น

• โครงสร้างโมเลกุลของพาราไบโอติกนั้นๆ มีกลไกการออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงดีขึ้น ด้วยกลไก Microbes Associated Molecular Pattern (MAMP) เพื่อจะจดจำกับตัวรับ Pattern Recognition Receptors (PRR) หรือผ่านกลไกที่เรียกง่ายๆ ว่า MAMP-PRR 

• พาราไบโอติกมีความพร้อมใช้งานต่อกระบวนการผลิต ยิ่งเป็นการขยายขนาดอุตสาหกรรม เพราะจะมีความง่ายในการผลิต การจัดเก็บ และการขนส่ง ได้ดีกว่าโพรไบโอติก

    ในปัจจุบันพาราไบโอติกที่มาในรูปแบบอาหารเสริม เช่น แบรนด์ Paraflex เป็นการรวมกันของ Probiotics, Parabiotics, Postbiotics และ Prebiotics เรียกแค่กินซองเดียวก็ได้ทั้งจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิตและชนิด inactive นอกจากนั้นยังมี active metabolites และอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่มีชีวิต (postbiotics) รวมอยู่ด้วย นั่นคือซองเดียวเอาอยู่!! ไม่ต้องกังวลเรื่องการได้รับเชื้อไม่เพียงพอเพราะยังไงก็มีพาราไบโอติกไปเสริมฤทธิ์ส่วนนี้ได้อยู่

สรุป

    โดยสรุป 'Parabiotics' (เซลล์ที่ตายแล้ว/โพรไบโอติกที่ inactive) เป็นแนวคิดที่พัฒนาไปเพื่อใช้ประโยชน์จากโพรไบโอติกเหล่านั้น โดยที่ส่วนประกอบของเซลล์ที่มีสภาพสมบูรณ์หรือแตกหัก เช่น เพปทิโดไกลแคน, กรดเตโชอิก (teichoic acids) โปรตีนบนพื้นผิวเซลล์ ฯลฯ เติมเข้าไปในอาหารที่มีฟังก์ชั่นต่างๆ หรืออาหารเสริม เพื่อการส่งเสริมสุขภาพในหลายๆ ระบบของร่างกาย 

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความ ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

5359

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “