Views 12102
2023-05-11 17:00
(กูรูเช็ค) รีวิว อาการปวดหัว ปวดหัวแบบนี้บ่งบอกอะไรได้บ้าง?
เป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น มีหลายภาวะ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เช่น มีไข้ เครียด อดนอน ยาบางชนิด ความดันสูง ฯลฯ จนถึงโรครุนแรงในสมอง เช่น เนื้องอก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
อาการปวดหัวที่พบบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วมี 4 ประเภทหลัก ๆ
• โรคปวดศรีษะไมเกรน (Migraines)
จะปวดเป็นพักๆ ปวดข้างใดข้างหนึ่ง ปวดแบบตุบๆ ติดกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน มัก มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว หรือเห็นแสงสีร่วมอยู่ด้วย
• โรคปวดศรีษะจากความเครียด (Tension headache)
ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ตรงบริเวณต้นคอ หรือท้ายทอย หรืออาจจะปวดรอบศีรษะคล้ายถูกเข็มขัดรัด
• โรคปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache)
อาการปวดรุนแรงแบบข้างเดียว ซึ่งมักจะปวดตุบๆที่กระบอกตา หรือรอบๆ ตา หรือที่บริเวณขมับ และมักจะเป็นข้างเดียว มักจะมีอาการน้ำตาไหลข้างเดียวและมีเส้นเลือดแตกในตา ทำให้เกิดอาการตาแดง
• โรคปวดศรีษะจากแรงดันในสมองสูง(Increase Intracranial Pressure)
อาการปวดศีรษะแบบรุนแรง (ปวดศีรษะร้าย แรง) อาเจียนที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จะพุ่งออกมาอย่างแรง (มักไม่ค่อยมีอาการคลื่นไส้นำก่อน) ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน ถ้าเป็นรุนแรงอาจ ชัก ซึมลง หมดสติ/โคม่า และ/หรือเสียชีวิตได้
ตัวอย่างยารักษาอาการปวดหัวที่ใช้บ่อย
1.พาราเซตามอล (Paracetamol)
ยี่ห้อที่เราคุ้น ๆ กัน ก็ Tylenol (ไทลินอล) Sara (ซาร่า)
บรรเทาปวด และลดไข้ โดยยับยั้งการสร้างสารเคมีบางตัวในสมองของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง
วิธีทานที่แนะนำ
เด็ก 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง (หากจำเป็น) ไม่เกิน 5 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่ 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
*ไม่ควรทานต่อเนื่องนานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วัน
2.ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
ตัวอย่างยี่ห้อ Nurofen (นูโรเฟน) Gofen (โกเฟน)
ยับยั้งการทำงานของสารไซโคลออกซิจีเนส (Cyclooxygenase)ซึ่งจะไปเปลี่ยนสารเคมีบางกลุ่มให้กลายเป็นสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) โพรสตาแกลนดินเป็นตัวชักนำให้เกิดอาการปวด การอักเสบ และก่อให้เกิดอาการไข้ของร่างกาย นอกจากนั้นไอบูโปรเฟนยังสามารถออกฤทธิ์โดยตรงที่สมองและบริเวณอวัยวะที่มีอาการปวดได้
วิธีทานที่แนะนำ
เด็ก ให้รับประทานยาวันละ 30-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง (สูงสุดไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม)
ผู้ใหญ่ ให้รับประทานยาครั้งละ 400-800 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง
*ควรรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีเพื่อลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
• ปวดหัวจนต้องตื่นขึ้นจากการนอน
• อาการปวดหัวะยังคงอยู่ต่อเนื่องอย่างน้อยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปและไม่ดีขึ้น
• มีอาการปวดหัวบ่อยขึ้นถี่ขึ้นกว่าเดิมมาก
• ลักษณะของอาการปวดหัวผิดปกติไปจากเดิมเช่น ปวดมากขึ้นต่อเนื่อง ไม่หาย ไปเมื่อกินยาแก้ปวดทั้งๆที่เคยกินยาแล้วดีขึ้น
• เมื่อมีอาการปวดหัวอย่างเฉียบพลันและรุนแรง
• ปวดหัวพร้อมกับมีอาการชักกระตุก
• ปวดหัวพร้อมกับสับสน และความรู้สึก (consciousness) เสียไป
• ปวดหัวพร้อมกับปวดตาและหู
• จัดการเรื่องความเครียด
• รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• ให้ความสนใจเกี่ยวกับท่าทางเวลายืนเดิน หรือนั่ง
• นอนหนุนหมอนไม่เกิน 2 ใบ
• นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ
(สำหรับติดต่อโฆษณา)
“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “