เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1829

2025-03-21 16:30

(กูรูเช็ค) โน้มน้าวใจลูกค้า ด้วยจิตวิทยาการตลาด ให้สนใจแบรนด์อาหารเสริม

จิตวิทยาการตลาดคืออะไร

จิตวิทยาการตลาดเป็นเบื้องหลังของความรู้สึกเวลาลูกค้ารู้สึกอยากจะซื้อสินค้า แม้ตอนนั้นไม่ได้จำเป็นต้องใช้หรือว่าราคาไม่ได้ถูกพอที่จะซื้อตอนนั้น การทำจิตวิทยาการตลาดเลยเป็นสิ่งที่หลายแบรนด์ใช้ ในการโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความสนใจต่อสินค้าอาหารเสริมของทางแบรนด์ ปรับให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดของลูกค้า สำหรับกลยุทธ์จิตวิทยาการตลาดที่เอามาปรับใช้ในการทำการตลาดอาหารเสริม กูรูเช็ครวบรวมมาให้แล้วค่ะ

กลยุทธ์จิตวิทยาการตลาด

กลยุทธ์จิตวิทยาการตลาด หรือ Marketing Psychology จะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจในสินค้าของเราให้ได้ และต้องไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ากำลังถูกกดดันอยู่ โดยต้องทำความเข้าใจถึง Insight ของผู้บริโภคก่อน แล้วเลือกปรับใช้ให้เข้ากับแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย
 

1. การตลาดแบบ Social Proof

ด้วยความที่มีสินค้าอะไรออกมาออกมาเยอะแยะมากมาย จนลูกค้าเกิดความสับสน ลังเล และไม่แน่ใจว่าจะเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์ไหนดี มีการตั้งข้อสังเกตว่ามนุษย์จะเลียนแบบการกระทำของคนอื่น โดยเฉพาะคนที่มีความไว้วางใจ คนที่ชื่นชอบ หรือผู้มีอิทธิพลที่ติดตามอยู่ และ Social Proof มีหลายวิธีที่จะสร้างให้คนสนใจแบรนด์ของเรา และตัดสินใจซื้ออาหารเสริมของแบรนด์ เช่น 

 

  1. Influencer และ KOL ผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดีย ที่โน้มน้าวจิตใจของผู้ติดตามได้ การรีวิวแนะนำสินค้าจากผู้มีอิทธิพลบนสื่อเหล่านี้ มักจะทำให้ผู้ติดตามเกิดความสนใจและไปลองซื้อสินค้าตามอยู่บ่อย ๆ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การใช้ Influencer และ KOL โปรโมทอาหารเสริม
  2. Word-of-Mouth การแนะนำสินค้าปากต่อปาก จากคนรอบตัวที่รู้จักและสนิทกัน ก็ช่วยให้คนตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การตลาดแบบปากต่อปาก
  3. การรีวิวของผู้ใช้งานจริง หรือคอนเทนต์ UGC (User Generated Content) ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งช่วยส่งผลต่อการซื้อเป็นอย่างมาก โดยสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ UGC ได้ที่ การโปรโมทอาหารเสริมด้วย UGC
     

2. การตลาดแบบ Paradox of Choice

หลาย ๆ แบรนด์เลือกออกสินค้ามาแบบมีหลายสูตร ที่มีส่วนประกอบ คุณสมบัติไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ เลยทำให้มีตัวเลือกมากมาย จนตัวลูกค้าหลายคนเองสับสนจนเลือกไม่ถูก และล้มเลิกการซื้อไปเลยก็มี ตามจิตวิทยา Paradox of Choice แล้ว เมื่อลดตัวเลือกของสินค้าลงมา โดยลองตัดอาหารเสริมที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน แต่ที่ผ่านมามียอดขายน้อยกว่าออกไป ก็จะเหลือตัวเลือกสินค้าในจำนวนที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า และมี % โอกาสการซื้อสูงกว่ามีสินค้าที่มีตัวเลือกเยอะ

สมองของคนมักจะเลือกจำรูปแบบที่ง่ายมากกว่า ถ้าสินค้าแบรนด์ไหนที่เขารู้สึกมีตัวเลือกเยอะเกิน และตัดสินใจยากเกินไป ก็อาจจะเปลี่ยนใจไปเลือกดูแบรนด์อื่นที่มีตัวเลือกที่น้อยกว่า และตัดสินใจได้ง่าย

3. การตลาดแบบ Scarcity

การตลาดแบบมีจำนวนจำกัด เป็นจิตวิทยาหนึ่งที่กระตุ้นให้คนอยากรีบซื้อสินค้าทันที ก่อนที่สินค้าจะหายากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่าเมื่ออุปทานลดลง อุปสงค์ก็จะสูงขึ้น และจิตวิทยานี้ทำให้เกิดเป็น FOMO หรือ Fear Of Missing Out ที่ทำให้ลูกค้ากลัวการตกเทรนด์ เลยต้องรีบซื้อสินค้าให้ไวที่สุด สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การตลาดแบบ FOMO

4. การตลาดแบบ Anchoring

คนมักจะยึดติดและตัดสินใจซื้อสินค้าจากข้อมูลแรกที่เขาได้รับ จิตวิทยานี้เลยเป็นการกำหนดสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่านี่คือทางเลือกที่ดีที่สุดของพวกเขา อย่างการกำหนดเพดานราคาช่วงลดราคาที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขาประหยัดเงินในการซื้อแต่ละครั้ง เช่น “อาหารเสริมครบเซต 3 กระปุก ราคา 1,070” แทนการใช้ “อาหารเสริมลดราคาเหลือกระปุกละ 359” ทำให้ลูกค้าเกิดความคิดที่ว่าส่วนลดในแบบแรกดีและประหยัดที่สุด หรือการใช้พรีเซนเตอร์ก็จะทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีต่อคนที่เพิ่งรู้จักดีขึ้นด้วย 

5. การตลาดแบบ Powerful Words

คำพูดก็เป็นจิตวิยาสำคัญในการโน้มน้าวให้คนมาซื้อสินค้า ใช้คำที่ใช้เป็น Call to Action เพื่อกระตุ้นให้รีบซื้อสินค้า เช่นคำว่า ทันที, ปลอดภัย, มีจำนวนจำกัด, ส่งฟรี หรือใช้สโลแกนที่เป็นการพรีเซ็นต์แบรนด์ ตัวอย่างสโลแกนของแบรนด์อาหารเสริมที่ช่วยสร้างภาพจำให้ผู้คน เช่น 


“BLACKMORES serves every stage of life” - BLACKMORES
“You'll feel better on Swisse” - Swisse
“ชีวิตดี เริ่มต้นที่สุขภาพ (Better Health, Better Life)” - VISTRA
 

6. การตลาดแบบ Color Psychology

สีเป็นสิ่งที่สื่อตัวตนของแบรนด์และสินค้าได้ดี มีผลต่อการมองเห็นและโน้มน้าวการตัดสินใจได้อย่างดี การเลือกใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดคน และสร้างความแตกต่างของแบรนด์ได้ดีด้วย อย่างเช่น แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่มีความเป็นธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม ก็จะเลือกใช้สีเขียว หรือสีฟ้าเป็นหลัก และการแยกสูตรของอาหารเสริมด้วยสี เช่น อาหารเสริมประเภทช่วยให้นอนหลับ ก็เหมาะกับการใช้สีม่วง หรือสีน้ำเงิน เป็นต้น

7. การตลาดแบบ Visual Enhancement

รูปภาพเป็นสิ่งที่สามารถสื่อความหมายได้เยอะแทนการใช้คำพูด และคนเลือกที่จะดูภาพก่อนเป็นอย่างแรก เพราะการเขียนจนยาวแทบเป็นบทความก็ทำให้คนไม่ได้อยากหยุดอ่านเท่าไหร่ การออกแบบภาพเพื่อทำการโฆษณา โปรโมท ทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เลยมีความสำคัญ เพื่อให้ดึงดูดใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ฟรี!! ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1829

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “