เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2666

2024-05-10 11:00

(กูรูเช็ค)โพรไบโอติก พรีไบโอติกคืออะไร เลือกกินยังไงให้ได้ผล!

• โพรไบโอติก คืออะไร

ร่างกายของเราจะมีจุลินทรีย์ทั้งดีและไม่ดี เมื่อเราติดเชื้อบางอย่างก็จะทำให้มีจุลินทรืย์ที่ไม่ดีมากขขึ้น ทำให้ระบบเสียสมดุล ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายก็จะเขาไปช่วยขจัดจุลินทรีย์ส่วนเกิน คืนสมดุลให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายเป็นปกติ ซึ่งจุลินทรีย์ดีตัวนี้ คุณๆน่าจะคุ้นชื่อกันดี นั่นก็คือเจ้าตัว โพรไบโอติกนั่นเอง

โพรไบโอติก (PROBIOTICS) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ มีส่วนช่วยในการดูแลระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ ช่วยย่อย และสังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงคอยป้องกันร่างกายจากจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เป็นแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติทนต่อกรด สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆ ได้แก่ กลุ่ม  Lactobacillus spp. ที่เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ และ Bifidobacterium spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร (อ้างอิง)

ส่วนพรีไบโอติก (PREBIOTIC) ก็คืออาหารของโพรไบโอติก ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปแบบที่ไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโต และการทำงานของโพรไบโอติก สรุปง่ายๆก็คือ พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติก ดั้งนั้น ถ้าทานพรีไบโอติกด้วยก็จะช่วยส่งเสริมโพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ทำไมเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกเสริม?
เพราะอย่างที่บอกไปว่าโพรไบโอติก จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ NORMAL FLORA อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้ามีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้ 
ลองจินตนาการดูนะคุณๆ สมมติว่าร่างกายเราได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เพราะตัวยาไม่สามารถแยกแยะได้ว่าต้องกำจัดแต่เฉพาะจุลินทรีย์ตัวร้าย ดังนั้นจุลินทรีย์ดีก็จะโดนกำจัดไปด้วย พอหลังจากนั้นร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา ก็มีโอกาสที่ร่างกายเราจะป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง NORMAL FLORA และร่างกาย จึงมีความสำคัญ การทานโพรไบโอติกจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

ในปัจจุบันอาหารเสริมโพรไบโอติกในท้องตลาด ที่เราเห็นๆกันมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (POWDERS), รูปแบบแคปซูล (CAPSULES), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (CHEWABLE TABLETS), รูปแบบสารละลาย(SOLUTION DROPS) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด (VAGINAL TABLETS) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วยสารประกอบเชิงซ้อนของคาร์โบไฮเดรต เช่น สารกลุ่มอินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์หรือในบางผลิตภัณฑ์อาจจำหน่ายในรูปแบบสูตรผสมประกอบด้วยโพรไบโอติกและพรีไบโอติกส์ในตัวเดียวผลิตภัณฑ์เดียวกัน ดังนั้นเลือกให้เหมาะสมและปลอดภัยก่อนจะรับประทานด้วยนะ

• ปัจจัยที่ทำให้โพรไบโอติกในร่างกายลดลง

• ใช้ยาปฏิชีวนะ 
• การกินของหวาน หรือกินน้ำตาลมากเกินไป
• การกินแป้งที่ผ่านการขัดสี
• การกินอาหารที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม
• ภาวะเครียด
• ขาดการออกกำลังกาย
• สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
• พักผ่อนไม่เพียงพอ 
• ภาวะสูงอายุ
• ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

• โพรไบโอติกมีประโยชน์กับระบบไหนของร่างกายบ้าง?

ระบบทางเดินอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, ท้องที่จากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน, ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส 
ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ในภาวะโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ของผิวหนัง 
ระบบผิวหนัง โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้ สิว 
ระบบประสาทและความเครียด รวมถึงอาการนอนไม่หลับ 
• ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด, ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน 
• ระบบทางเดินหายใจ เกี่ยวกับปอด การติดเชื้อไวรัส เชื้อโรคต่างๆ 
• ระบบต่างๆที่เกี่ยวกับร่างกาย เช่น ตับ (น้ำดีและ immunoglobulin A ช่วยควบคุมองค์ประกอบของจุลินทรีย์) ช่วยลดการเกิดภาวะตับอักเสบ หรือไขมันพอกตับ

โพรไบโอติกไม่ใช่ทุกสายพันธุ์จะให้ผลการรักษาเหมือนกันนะคุณๆ เพราะในแต่ละคนล้วนมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีมาแต่เกิด หรือ MICROBIOME ที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกในร่างกายของเราไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว แต่มีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อร่างกายแตกต่างกันไป

• ประเภทของโพรไบโอติก (PROBIOTICS)

1. แลคโตบาซิลลัส (LACTOBACILLUS) พบมากที่สุดในกลุ่มโพรไบโอติกส์ แบคทีเรียแลคโตลาซิลลัสเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ 
 2. แซคคาโรไมซิส (SACCHAROMYCES BOULARDII) พบได้ในกลุ่มโพรไบโอติกส์ ไม่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ 
 3. บิฟิโดแบคทีเรียม (BIFIDOBACTERIUM) เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่เรียกกันได้ว่าดีที่สุด 
นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกประเภทอื่น ที่ใช้ทางด้านการแพทย์อีกด้วย เช่น 
• Lactobacillus spp. – L. reuteri, L. Casei, L. Acidophilus, L. Bulgaricus, L.brevis, L. Rhamnosus
• Saccharomyces boulardii 
• Enterogermina – Bacillus clausii, Bacillus subtilis
• Bifidobacterium spp. – B. Bifidum, B. Longum, B. Breve, B.infantis
• Streptococcus thermophilus(อ้างอิง)

ในเมื่อโพรไบโอติกเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ดีหรือแบคทีเรียมีประโยชน์ที่พบได้ในร่างกาย ทั้งยังเป็นพระเอกที่ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในร่างกาย แต่ก็มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้โพรไบโอติกลดลงได้ตลอดอย่างที่ได้พูดไปข้างต้น คุณๆต้องหาวิธีดูแลร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร  เริ่มจากการดูแลตัวเอง และปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้โพรไบโอติกลดลงนั่นเอง และเลือกกินโพรไบโอติกให้เหมาะสมกับตัวเองด้วย  ทำความรู้จัก “ประเภทโพรไบโอติก” เพิ่มเติม คลิ๊ก!

• วิธีการเลือกโพรไบโอติก (PROBIOTICS)

- เลือกโพรไบโอติกแบบผสมแบคทีเรียเพื่อช่วยปรับสมดุลลำไส้ สำหรับผู้ที่ดูแลสุขภาพทั่วไป
- เลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ สำหรับผู้มีปัญหาระบบทางเดินอาหารและลำไส้ และปัญหาอื่นๆ
- เลือกโพรไบโอติกแบบยีสต์ สำหรับคนที่ทานยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน ระบบขับถ่ายไม่ดี
- เลือกโพรไบโอติกที่มีส่วนผสมของพรีไบโอติกด้วย เพื่อเสริมการทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
- เลือกโพรไบโอติกรูปแบบที่ทานง่ายสำหรับตัวเอง เพื่อการรับประทานที่ต่อเนื่อง

สรุป 

โพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้วส่งผลต่อการส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ คุณๆ ควรเลือกทานเสริมเพื่อช่วยป้องกันไว้ได้
ซึ่งโพรไบโอติกในปัจจุบันที่มีขายในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะมากๆ แต่ใช่ว่าโพรไบโอติกทุกชนิดจะเหมาะกันความต้องการของทุกคนนะ การกินโพรไบโอติกที่มากเกินไป หรือว่าชนิดที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา บางทีอาจจะนำมาสู่การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หรือว่าทำให้โพรไบโอติกในร่างกายของเรา จากที่มันดีอยู่แล้วกลับแย่ลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกกินโพรไบโอติกให้ตรงจุดเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของสุขภาพแต่ละคนด้วย

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสร้างแบรนด์อาหารเสริมโพรไบโอติก การเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ทันสมัย  โดยเฉพาะการผลิตอาหารเสริมโพรไบโอติก ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องอาศัยนวัตกรรมมาช่วยปกป้องหรือเพิ่มประสิทธิการทำงานเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และที่สำคัญผู้บริโภคทานแล้วเห็นผล ที่สำคัญสูตรของผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกต้องตอบโจทย์และเห็นผลจริง น่าเชื่อถือ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2666

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “