เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2756

2024-05-29 18:00

(กูรูเช็ค)รวมวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร สมดุลลำไส้ และระบบขับถ่าย

กูรูเช็ค

• การดูแลระบบทางเดินอาหาร สำคัญยังไง

ระบบทางเดินอาหาร คือ ระบบที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมของเซลล์ในร่างกาย ในทางเดินอาหารประกอบด้วยส่วนที่เป็นช่องทางเดินอาหารจากปากสู่ทวารหนัก และอวัยวะอื่นๆ ที่มีบทบาทร่วมในการย่อยอาหาร เช่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่องทางเดินอาหารทั้งหมด ประกอบด้วย ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
สำหรับลำไส้เล็กสามารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนของลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นกัน ประกอบด้วย ชีกัม (Cecum) โคลอน (Colon) และเร็กตัม (Rectum) ในทางเดินอาหารของคนเรา มักพบเชื้อจุลชีพเฉพาะถิ่น (normal flora) อาศัยอยู่ในบางส่วน เพื่อช่วยย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และมีเชื้อจุลินทรีย์ดี ที่เรียกกันว่า “โพรไบโอติก”

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อสุขภาพของเรา โดยแบคทีเรียที่มีชีวิตที่อาศัยอยู่เป็นเชื้อประจําถิ่นในทางเดินอาหาร เช่น Lactobacillus spp. และ Bifidobacterium spp. เป็นโพรไบโอติกสองชนิดหลักที่ถูกนํามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และเป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหารประเภทโยเกิร์ต เครื่องดื่มเสริมโพรไบโอติก และอาหารเสริมโพรไบโอติก จุลินทรีย์ชนิดนี้ทนทานต่อกรดและด่าง และนับเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ไม่ดีชนิดอื่นๆ ได้

• อวัยวะในระบบทางเดินอาหารมีอะไรบ้าง

• ช่องปาก (Mouth cavity) กระบวนการย่อยเริ่มต้นที่ช่องปาก เมื่อคุณๆ เริ่มเคี้ยวอาหาร ฟันทำหน้าที่บดอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร เพื่อให้ง่ายต่อการกลืนและเคลื่อนผ่านไปยังส่วนต่อไป นอกจากนี้ ในน้ำลายยังมีเอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกแป้งด้วย
• หลอดอาหาร (Esophagus) หลังจากที่เรากลืนอาหารผ่านลำคอลงไป อาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารด้วยวิธีที่เรียกว่า Peritalsis ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารให้ก้อนอาหารที่กลืนลงไปตกลงสู่กระเพาะอาหาหาร
• กระเพาะอาหาร (Stomach) อาหารเคลื่อนมายังกระเพาะอาหาร ก้อนอาหารจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการเคลื่อนไหว หรือเกิดการบีบตัวและคลายตัว เพื่อเป็นการคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำย่อยที่หลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ ในกระเพาะอาหารจะมีสภาวะเป็นกรดประมาณ pH 2 – 3 ซึ่งเอื้อต่อการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อย โดยอาหารจำพวกโปรตีนจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารมากที่สุดด้วยเอนไซมม์เพปซิน (Pepsin)
• ตับอ่อน (Pancreas) ตับอ่อนทำหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อยซึ่งเป็นเอนไซม์หลายชนิด และมีบทบาทในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน น้ำย่อยที่ผลิตโดยดับอ่อนจะลำเลียงผ่านท่อมาสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
• ตับ (Liver) ทำหน้าที่ผลิตน้ำดี เพื่อช่วยการย่อยไขมันและวิตามินบางชนิด โดยน้ำดีที่สร้างจากตับจะเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีและลำเลียงเข้าสู่ทางเดินอาหารบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น
• ถุงน้ำดี (Gallbladder) ทำหน้าที่เก็บน้ำดี (Bile) ที่ผลิตมาจากตับ และปล่อยน้ำดีเข้าสู่ทางเดินอาหารผ่านท่อน้ำดี เมื่อมีอาหารเคลื่อนผ่านมายังลำไส้เล็กส่วนต้น
• ลำไส้เล็ก (Small intestine) ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อย คลุกเคล้าอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยจากตับอ่อน และดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว สารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ภายในลำไส้เล็ก แบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในลำไส้เล็กมีบทบาทในการผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต
• ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) ภายในลำไส้ใหญ่ น้ำและเกลือแร่ รวมถึงวิตามิน จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตผ่านทางผนังลำไส้ และไม่พบกระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นในลำไส่ใหญ่ กากอาหารต่างๆ ที่เหลือจากการย่อยจะถูกขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก (Anus)

แบคทีเรียเจ้าถิ่นที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่มีบทบาทช่วยป้องกันเชื้อแปลกปลอมที่ปะปนมากับอาหาร รวมถึงช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ให้อยู่ในสภาวะปกติ โพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารจะทนทานต่อกรดและด่าง เมื่ออยู่ที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้จะสามารถผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดีได้ ทำให้ลำไส้ และระบบทางเดินอาหารแข็งแรง

• วิธีดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร และลำไส้

• กินอาหารช้าๆ ช่วยให้กระเพาะอาหารมีเวลาในการย่อยอาหารมากขึ้น และยังทำให้ไม่กินอาหารมากจนเกินไป 
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
• กินอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาหารที่มีใยอาหารประเภทโพรไบโอติก พรีไบไอติก  ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ 
• จัดการกับความเครียด ไม่เครียด ระบบทางเดินอาหารเปรียบเหมือนสมองที่สองของร่างกาย ความเครียดแม้เพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางด้านจิตใจ ร่างกายหรือสภาพแวดล้อม รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ 
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนักมากขึ้น
• หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลและน้ำตาลเทียมมากเกินไป เพราะทำให้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล (dysbiosis) เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วนและโรคทางระบบประสาทส่วนกลางได้
• ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งลำไส้ และมะเร็งทวารหนัก
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มมีความเชื่อมโยงต่อโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
• ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา เนื่องจากยาปฏิชีวนะอาจทำลายจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างสมดุล

• โพรไบโอติก(Probiotics) กับระบบทางเดินอาหาร

ในร่างกายของเรามีแบคทีเรียและจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยจะมีทั้งชนิดที่มีประโยชน์ และชนิดที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือจุลินทรีย์บางชนิดอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบย่อยอาหาร อ่านข้อมูลเพิ่มเติม โพรไบโอติกดีต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไร คลิ๊ก!

• ประโยชน์ของโพรไบโอติก

1. สร้างสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย 
โพรไบโอติกสามารถป้องกันและบรรเทาได้ทั้งอาการท้องเสียและท้องผูก เป็นตัวช่วยในการสร้างสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายของร่างกาย โพรไบโอติกกลุ่มแลคโตบาซิลลัส ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ ปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้

2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย 
โพรไบโอติกสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ การมีโพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารที่เพียงพอจะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อได้มากยิ่งขึ้น ลดการติดเชื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
 
3. รักษาสมดุลของผิวหนัง 
โพรไบโอติกช่วยรักษาสมดุลผิว พอผิวเราเกิดความสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดี ระบบบนิเวศบนผิวเราหรือที่เรียกว่า MICROBIOME ก็จะทำให้ผิวเราแข็งแรง ลดโอกาสการแพ้ ระคายเคืองผิวได้

4. ลดความเครียด ช่วยเพิ่มอารมณ์และการทำงานของสมอง 
โพรไบโอติกอาจช่วยเสริมประสิทธิภาพสมองด้านการควบคุมอารมณ์และความจำ ที่เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของสุขภาพด้วย
 
5. ลดอาการอักเสบ รักษาสมดุลปอดและตับ
การมีโพรไบโอติกในร่างกายที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้นกันต่อการติดเชื้อได้ดี โพรไบโอติกจะช่วยปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการอักเสบ ลดการติดเชื้อในบริเวณปอด เพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้และกระแสเลือด รวมทั้งลดการเกิดภาวะไขมันที่ตับ 

6. ช่วยเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ ดูแลจุดซ่อนเร้น 
แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสช่วยลดการอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย ลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบ รวมถึงป้องกันปัญหาการติดชื้อในช่องคลิดและปากช่องคลอดของผู้หญิงที่เป็นส่วนให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย

สรุป

ระบบทางเดินอาหารก็มีความสำคัญไม่แพ้ระบบอื่นๆ ของร่างกาย เราจึงควรใส่ใจดูแลตั้งแต่ตอนยังปกติดีอยู่ เพราะหากละเลยจนเกิดความผิดปกติขึ้น อย่าลืมนะว่าคุณๆ มองไม่เห็นสุขภาพภายใน กว่ารู้ตัวก็อาจรุนแรงและสายเกินจะรักษาได้ทันนะ ดังนั้นนอกจากการทานอาหารให้ตรงเวลา เลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย และปรุงสุก การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี อาหารเสริมโพรไบโอติก  ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยดูลระบบทางเดินอาหารของคุณๆ ได้

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

กูรูเช็คขอบคุณข้อมูลจาก

https://link.springer.com/article/10.1007/s12602-022-09981-x
เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2756

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “