เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2154

2024-06-21 18:00

(กูรูเช็ค)โพรไบโอติก Bifidobacterium ตัวช่วยลดไขมันพอกตับ

กูรูเช็ค

คุณๆ รู้มั๊ยว่าโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) มักพบร่วมกับโรคอ้วนและภาวะ metabolic syndrome ของจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่อการเกิด NAFLD และภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis, NASH) โดยพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุลไปทำให้เกิดการรั่วของผนังลำไส้ (gut leakiness) ส่งผลให้แบคทีเรียในลำไส้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสโลหิตและเกิดภาวะ metabolic endotoxemia ตามมาด้วยการอักเสบที่ตับในที่สุด การใช้โพรไบโอติก เพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้  อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา NAFLD และ NASH ให้ดีขึ้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติม (กูรูเช็ค) โพรไบโอติก สามารถลดการอักเสบ และลดการเกิดภาวะไขมันที่ตับได้!

โรคไขมันพอกตับ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease) คือภาวะความผิดปกติของตับ ที่เกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับที่มีปริมาณมาก โดยการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกิน และไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง วันนี้กูรู้เช็คพามารู้จักเกี่ยวการเสริมโพรไบโอติก Bacillus coagulans จากการศึกษาแบบสุ่ม(RCT) ในไต้หวัน ที่สามารถลดปริมาณไขมันในตับในผู้ป่วยที่ไขมันพอกตับกันค่ะ

โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และบริษัท TCI Co. Ltd ซึ่งกล่าวถึงการพัฒนาด้านโภชนาการในปัจจุบัน ได้กล่าวในหัวข้อพัฒนาการด้านโภชนาการในปัจจุบัน ว่าการเสริม Bacillus coagulans ช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ได้

จากการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 57 รายมีส่วนร่วมในการทดลองแบบสุ่ม ได้รับทั้งโพรไบโอติกและได้รับยาหลอกในช่วง 8 สัปดาห์นี้ โดยถูกสุ่มให้รับประทาน 1 แคปซูลที่มี Bacillus coagulans TCI711 (B. coagulans TC1711) 1.66 พันล้าน CFU และยาหลอกทุกวัน จากนั้นตรวจสอบปริมาณไขมันในตับโดยใช้เครื่องสแกนพังผืดในตับด้วย FibroScan และตัวอย่างอุจจาระที่รวบรวมเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในไมโครไบโอมในลำไส้

ผลการวิจัยพบว่าการเสริม B. coagulans TCI711 ช่วยลดปริมาณไขมันในตับลง ร้อยละ 5.2 ซึ่งต่ำกว่าระดับพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงมีมากในผู้เข้าร่วมที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 และหลังจากแยกผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคอ้วนขั้นรุนแรง ผู้เข้าร่วมที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 รายงานว่าไขมันในตับลดลงร้อยละ 8.7 เป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากระดับพื้นฐาน และยังมีการเปลี่ยนแปลงได้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก

การปรับจุลินทรีย์ในลำไส้

จากการศึกษาการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าการเสริม โพรไบโอติก สายพันธุ์ B. coagulans TCI711 ช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึง Bifidobacterium, Eubacterium, Ruminococcaceae, และ Sellimonas. จากระดับพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บิฟิโดแบคทีเรียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากน้อยกว่า 0.002 เปอร์เซ็นต์ เป็น 0.003 เปอร์เซ็นต์เมื่อสิ้นสุดทดสอบ 
และนักวิจัยอธิบายอีกว่าการผลิตกรดไขมันสายสั้น ได้แก่ กรดโพรพิโอนิก (propionic acid) และกรดบิวริก (butyric acid) สามารถยับยั้งการอักเสบของตับและการสะสมไขมัน และบรรเทา NAFLD ได้ ทั้งจุลินทรีย์ "Ruminococcaceae และ Sellimonas ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้ได้ ว่าการเสริม BCT (B. coagulans TCI711) ช่วยปรับการกระจายตัวของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ และเป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้  สุดท้ายการศึกษานี้ นักวิจัยเสริมว่าจุลินทรีย์ดีในลำไส้อาจเป็นแนวทางใหม่ในการรักษา NAFLD ได้จริง

จุลินทรีย์ในลําไส้และ NAFLD

NAFLD คือ ภาวะที่มีไขมันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ สะสมภายในเซลล์ตับมากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ โดยที่ไม่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากพอ หรือสาเหตุอื่นใดที่ทำให้เกิดโรคตับ NAFLD ประกอบด้วยความผิดปกติที่ตับโดยเริ่มจากการมีแค่ไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ (simple steatosis) โดยที่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบที่ตับไปจนถึงการมีไขมันสะสมที่ตับร่วมกับการ อักเสบในตับแบบ ballooning degeneration พร้อมกับการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในตับ (fibrosis) โดยเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steatohepatitis (NASH) ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงของโรคมากกว่า

ตับและทางเดินอาหารเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเลือดที่มาเลี้ยงตับส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) มาจาก portal vein ซึ่งนําเลือดที่มีสารอาหารที่ย่อยแล้วจากลําไส้ รวมถึงผลิตผลที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์ในลําไส้ เช่น เอทานอล แอมโมเนียและอะเซตัลดีไฮด์ไปยังตับด้วย มีการสันนิษฐานว่าจุลินทรีย์ในลําไส้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไขมันสะสมในตับ (NAFLD) และตับอักเสบ (NASH) โดยกลไกที่จุลินทรีย์ในลําไส้ทำให้เกิดการอักเสบที่ตับ เชื่อว่ามีหลายกลไกด้วยกัน ได้แก่ การมีแบคทีเรียเจริญมากผิด ปกติในลําไส้เล็ก (small intestinal bacterial overgrowth, SIBO) การปลดปล่อย lipopolysaccharide (LPS) จากผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ และการที่เยื่อบุผิวลําไส้ทำหน้าที่กีดขวางได้ไม่สมบูรณ์ (impaired intestinal barrier integrity) ทำให้ endotoxin ของเชื้อแบคทีเรียถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น และไปยังตับมากขึ้น ส่งผลกระตุ้นการสร้าง Proinflammatory cytokines ที่ตับและทำให้เกิดการอักเสบตามมา

สรุป

แบคทีเรีย Bifidobacterium มีบทบาทสำคัญในการลดระดับ endotoxin ในลําไส้ และช่วยส่งเสริมความแข็งแรงและการทำหน้าที่กีดขวางของเยื่อบุผิวในลําไส้ ดังนั้น การลดลงของ Bifidobacterium เนื่องจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง จึงทำให้เยื่อบุผิวในลําไส้สูญเสียการทำหน้าที่กีดขวาง ส่งผลให้เพิ่มการดูดซึมจากลําไส้ผ่านทางการเกิด Chylomicrons แล้วเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำใหเกิดไขมันพอกตับตามมา ดังนั้น การใช้ Probiotics เพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้ ก็เป็นทางเลือกนึงในการรักษา (NAFLD) และ (NASH) ให้ดีขึ้นได้นะ โดยอาหารเสริมโพรไบโอติกในปัจจุบันมีให้เลือกเยอะไปหมด คุณๆ ควรเลือกประเภทและสายพันธุ์ ให้เหมาะกับจุดประสงค์นะ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2154

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “